ชนใดไม่มีดนตรีกาล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
* อ้างอิง: พระราชนิพนธ์แปลในรัชกาลที่ 6 จากส่วนหนึ่งของบทละครเรื่อง เวนิสวาณิช จากต้นฉบับของ วิลเลียม เช็กสเปียร์
สุนทรภู่
* อ้างอิง: จากนิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี ประพันธ์โดย สุนทรภู่
M
William Shakespeare
อ้างอิง
จากส่วนหนึ่งของบทละครเรื่อง The Merchant of Venice ประพันธ์โดย วิลเลียม เช็กสเปียร์
Plato
Music is a moral law. It gives soul to the universe, wings to the mind, flight to the imagination, and charm and gaiety to life and to everything.
Ludwig van Beethoven
Music is the mediator between the spiritual and the sensual life.
Johann Wolfgang Von Goethe
Music is either sacred or secular. The sacred agrees with its dignity, and here has its greatest effect on life, an effect that remains the same through all ages and epochs. Secular music should be cheerful throughout.
Pope John Paul II
I have a sweet tooth for song and music. This is my Polish sin.
Albert Einstein
He who joyfully marches to music in rank and file has already earned my contempt. He has been given a large brain by mistake, since for him the spinal cord would suffice.
Ronald Reagan
Life is one grand, sweet song, so start the music.
Steve Jobs
It is piracy, not overt online music stores, which is our main competitor.
John Lennon
Music is everybody's possession. It's only publishers who think that people own it.
Jimi Hendrix
Music doesn't lie. If there is something to be changed in this world, then it can only happen through music.
Napoleon Bonaparte
Music is the voice that tells us that the human race is greater than it knows.
Martin Luther
Music is the art of the prophets and the gift of God.
Abraham Maslow
A musician must make music, an artist must paint, a poet must write, if he is to be ultimately at peace with himself.
Jimmy Carter
Like music and art, love of nature is a common language that can transcend political or social boundaries.
|
KruPoy
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ชนใดไม่มีดนตรีกาล
วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556
เพลงพระราชนิพนธ์หาได้ที่นี่นะคะนักเรียนดนตรีเพิ่มเติม
ที่มา : web.ku.ac.th/king72/2530/i_think_of_you.html
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ถามมาก็ตอบไป : ใครกันนะ บีโธเฟ่น? - นักดนตรีตรีอัจฉริยะหูหนวก
นั่นสิเป็นคนดนตรีทั้งที รู้จักบรรพบุรุษคนดนตรีกันบ้างรึเปล่าคะ
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อหรือรู้จัก "บีโธเฟน" มาบ้างไม่มากก็น้อย เขาไม่เพียงแต่เป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่เขายังเป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เป็นสุดยอดนักดนตรีที่มีคนฟังทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นเมื่อ 200-300 ปีที่แล้วหรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน บีโธเฟนยังคงเป็นคีตกวีชาวเยอรมันผู้สร้างผลงานเพลงคลาสสิกชั้นยอดไว้มากมาย แม้ว่าบีโธเฟ่นจะมีปัญหากับสุขภาพที่ "หู" และประสาทการได้ยินซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาได้ประพันธ์ผลงานเพลงที่ดีที่สุดในชีวิต ความทุกข์ใจโดดเดี่ยวอ้างว้างจากการที่หูของเขาไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ เลย แต่ก็ไม่ทำให้เขาท้อถอยตรงกันข้ามด้วยความพยายามและพรสวรรค์เขายังสามารถสร้างสรรค์ดนตรีและประพันธ์เพลงออกมาได้อย่างดีเยี่ยมจนทุกคนต่างยอมรับว่าในความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี ทั้งนี้เกิดจากการที่เขานำเอาอารมณ์และความรู้สึกมาเรียบเรียงเป็นความรู้สึกทางด้านดนตรี บีโธเฟ่นเป็นคนแรกของโลกที่สามารถใช้เสียงดนตรีบ่งบอกอารมณ์ของตัวเองได้ชัดเจนที่สุด เพราะด้วยความที่เขาต้องทนอยู่กับความเงียบ เขาจึงใช้ดนตรีถ่ายทอดความรู้สึกของเขาออกมา จนกลายมาเป็นบทเพลงที่ผู้คนสามารถรู้สึกได้ถึงอารมณ์และความรู้สึกที่เขาถ่ายทอดออกมาในแต่ละห้วงของชีวิตของเขา อย่างตรงไปตรงมา ลึกซึ้ง สะท้อนรายละเอียดทุกแง่มุมของความรู้สึกนึกคิดของเขา ที่สำคัญยังถือเป็นบทเพลงที่อมตะตลอดกาล แม้กระทั่งปัจจุบันนี้บทเพลงของเขาก็ยังถูกนำมาเล่นอยู่เสมอถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างยิ่งของสื่อในสมัยอดีต ที่เสียงดนตรีสามารถถ่ายทอดด้วยความจำ จินตนาการ และความรู้สึกจากคนต่อคน
(ขอบคุณที่มาจากบทความ http://www.tutorgohome.com/forum/index.php?topic=360.0)
ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, ค.ศ. 1770-1827)
บีโธเฟ่นเป็นอัจฉริยะทางด้านการประพันธ์ดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีผลงานทางดนตรีมีเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่และมีสีสันไม่น้อยไปกว่างานของโมสาร์ทเลย เขาถือกำเนิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1770 ในครอบครัวที่ยากจน ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลไรน์ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี พ่อของเขาชื่อ โจฮันน์ ฟาน บีโธเฟน มีอาชีพเป็นนักร้องเสียงเทนเนอร์ประจำวงดนตรีของเจ้าเมือง แม่ชื่อ มาเรีย มักดาเลนา เป็นผู้หญิงที่เรียบร้อย อ่อนหวาน ใจดี มีความรักและเอาใจใส่ต่อลูกๆ ทุกคน บีโธเฟนเป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวนทั้งหมด 7 คน ความยากจนของครอบครัวทำให้ชีวิตในวัยเด็กของเขาเป็นไปอย่างยากลำบาก ประกอบกับพ่อเป็นคนที่มีอารมณ์ร้าย เป็นคนขี้เหล้าเมาหยำเปใช้จ่ายเงินในการซื้อเหล้าหมด ไม่เอาใจใส่ดูแลต่อความทุกข์สุขของครอบครัวเท่าท่าควร บีโธเฟนเป็นเด็กที่มีสารรูปขี้ริ้วขี้เหร่ เงียบขรึม และขี้อาย พ่อเริ่มสอนให้เล่นไวโอลินและเปียโนก่อนที่เขาจะมีอายุ 4 ขวบ แต่เขาเล่นได้ไม่ดีดังที่พ่อหวัง จึงทำให้พ่อโมโหและทำโทษเขาด้วยวิธีเอาไม้เคาะที่ตาตุ่มบ่อยๆ ปีที่บีโธเฟนเกิด "วูล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท" นักดนตรีเอกของโลกมีชื่อเสียงกระฉ่อนทั่วยุโรปในฐานะนักดนตรีอัจฉริยะ โจฮันน์ ฟาน บีโธเฟน มีความใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะให้ลูกชายของเขามีความสามารถและมีชื่อเสียงทางดนตรีโด่งดังเหมือนกับโมสาร์ท พ่อของเขาพยายามเคี่ยวเข็ญลูกชายฝึกฝนเล่นดนตรีอย่างเข้มงวดกวดขันที่สุด จับเขาหัดไวโอลินตั้งแต่ 5 ขวบ เคี่ยวเข็ญให้ท่องจำ และให้ถือไวโอลินตลอดเวลา แต่กระนั้นก็ดี อัจฉริยภาพทางดนตรีของบีโธเฟนก็ยังไม่ปรากฏออกมา นอกจากจะฝึกซ้อมไวโอลินและเปียโนแล้ว พ่อยังบังคับให้เขาเรียนออร์แกนและคลาเวียร์กับเพื่อนคู่หูของพ่อ การย
จะว่าไปแล้วช่วงชีวิตในวัยเด็กของบีโธเฟนนั้นถูกเลี้ยงดูจากคุณปู่ที่เป็นนักดนตรี สิ่งนี้เองที่ทำให้บีโธเฟนมีความสนใจทางด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก แต่ก็น่าเสียดายที่ปู่ของเขาเสียชีวิตลงในตอนที่บีโธเฟนมีอายุได้เพียง 10 ขวบเท่านั้นเอง หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1786 บีโธเฟนเดินทางไปเวียนนาไปเรียนดนตรีกับโมสาร์ทนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น ภายหลังจากที่โมสาร์ทได้ยินเสียงดนตรีที่บีโธเฟนบรรเลงออกมานั้น เขาถึงกับกล่าวออกมาว่า ?จงคอยดูเด็กน้อยคนนี้ให้ดี สักวันหนึ่งเพลงของเขาจะดังก้องไปทั่วโลก? บีโธเฟนฝึกดนตรีอย่างหนักทุกวันและเริ่มแต่งเพลง และไม่นานนักหลังจากที่เขามาถึงเวียนนา แม่ของเขาก็เสียชีวิตลงด้วยโรควัณโรค ในขณะที่แม่ตายนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี เขาต้องรับภาระดูแลครอบครัวแทนแม่ เขาต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือเจือจุนครอบครัวด้วยการสมัครเข้าเล่นดนตรีในสำนักของเจ้าเมืองบ้าง รับสอนเด็กๆ ที่ชอบทางดนตรี เมื่อเขาอายุ 22 ปี เขาได้ย้ายไปอยู่ที่เวียนนา และเข้าเรียนดนตรีกับไฮเดิน ในตอนแรกเขามีความนิยมชมชอบในตัวครูมาก แต่ไม่นานนักก็เกิดมีความคิดเห็นขัดแย้งกับครูของเขา
ไฮเดินรู้สึกไม่พอใจกับลูกศิษย์คนนี้นัก เพราะเป็นคนแข็งกระด้าง ท่าทางเงอะงะ ตลอดจนมีความคิดเห็นนอกแบบนอกแผนเชื่อมั่นในตนเองเกินไป ไม่เอาใจใส่ในคำสอนของครูในเรื่องกฎความกลมกลืนของเสียง ทางฝ่ายบีโธเฟนก็เห็นว่าไฮเดินจู้จี้และแก่ทฤษฎีเกินไป ชอบดำเนินตามรอยแบบแผนเก่าๆ และที่สำคัญคือไฮเดินไม่ชอบเพลงทริโอของเขา จึงเกิดขัดใจกัน ในที่สุดเขาจึงออกไปเรียนกับคนอื่น
ณ นครเวียนนาบีโธเฟนก็ได้ตระเวนเล่นดนตรีไปในที่ต่างๆ จนชื่อเสียงทางเปียโนของเขาเป็นที่รู้จักกันดีทั่วเวียนนา ได้รับความนิยมมากการเล่นของเขาเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกมาอย่างรุนแรงและงดงาม เขามีลูกศิษย์ตลอดจนชนชั้นสูงมาเรียนกับเขามากขึ้น พวกชนชั้นสูงของเวียนนาไม่น้อยที่นิยมเพลงและซื้อบทเพลงของเขาไปเล่นตามวัง จากความสามารถทางดนตรีของเขา ทำให้เจ้าชายและเจ้าหญิงลิคนอฟสกี้ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งในหมู่ชนชั้นสูงนิยมในตัวเขา ได้เชื้อเชิญให้เขาไปพำนักอยู่ในวังและรับเป็นผู้อุปถัมภ์ในทางการเงินและอื่นๆ แก่เขา ขณะที่เขาพักอยู่ในวังเขามีความสะดวกสบายและมีความสุขพอควร ถึงแม้ว่าหน้าตาของเขาจะขี้ริ้วขี้เหร่ มีกิริยาท่าทางซุ่มซ่ามเป็นบ้านนอก แต่งกายปอนๆ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และผิดนัดบ่อยๆ มีอิสระเต็มที่ อยากเล่นอะไร ทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นโดยไม่ต้องเกรงใจใคร บางครั้งก็แสดงกิริยาหยาบคาย หุนหันเอาแต่ใจตัว ขณะที่เขากำลังเล่นเปียโนให้ฟัง ถ้ามีใครพูดคุยและหัวเราะคิกคัก เขาจะโกรธมากและเลิกเล่น แล้วเดินหนีไปเฉยๆ แต่ก็ไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลนหรือแสดงอากัปกิริยารังเกียจเขา ทุกคนพากันมองข้ามสิ่งเหล่านี้โดยไม่เอาใจใส่ เพราะนิยมในความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของเขา
ตั้งแต่ ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา บีโธเฟนก็เปลี่ยนไปเอาดีและก้าวหน้าในทางแต่งเพลง เริ่มต้นด้วยเพลง Kreutzer Sonata สำหรับไวโอลิน The Moonlight และ Pathetic Sonata และเพลงคอนเชอร์โตอีก 3 เพลงสำหรับเปียโน นับเป็น 6 เพลงแรกที่ใช้เล่นกับเครื่องดนตรีสำหรับเล่น 4 คน และเริ่มแต่งเพลงซิมโฟนี จากการแต่งซิมโฟนีอันดับ 1 และ 2 ทำให้เขาได้พบแนวใหม่สำหรับที่จะแต่งเพลงอันดับต่อๆ ไป โดยเห็นช่องทางที่จะใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปได้อย่างเต็มที่ เพลงที่บีโธเฟนแต่งเป็นเพลงที่แสดงออกมาอย่างเสรี แหวกแนว ในระยะแรกที่เพลงของเขาออกสู่ประชาชน ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา เช่นว่า ?นักดนตรีที่นอกแบบแผนเป็นอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี? แต่เขาก็ไม่แยแสว่าใครจะว่าอย่างไร และในตอนที่เขามีอายุได้ 31 ปี หูของเขาก็เริ่มมีอาการผิดปกติ ริ่มมีอาการปวดและอื้อจนขึ้น เจ็บปวดรวดร้าวทำให้เกิดความทนทุกข์ทรมานใจเขาเป็นอย่างยิ่ง หมอได้แนะนำให้เขาไปพักผ่อนตามหมู่บ้านแถบชานเมือง และในที่สุดเขาก็ไม่สามารถได้ยินเสียงใดๆอีกเลย
ในตอนแรกเขาท้อใจและสิ้นหวังจนเกือบจะฆ่าตัวตายไปแล้ว แต่ท้ายที่สุดเขาก็คิดได้และหันมาสู้อีกครั้ง แม้ว่าการสูญเสียประสาททางการได้ยินนั้น จะเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุดสำหรับชีวิตนักดนตรี เขาได้ตั้งปณิธานว่า ?ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด และความพิการจะดึงตัวฉันให้ตกต่ำไม่ได้? จากแรงบันดาลใจอันนี้เอง ทำให้เขาตัดสินใจกลับจากเมืองไฮลิเกนสตัดท์สู่เวียนนาอีกครั้ง ถึงแม้ว่าหูของเขานั้นจะฟังเสียงดนตรีไม่ได้ แต่เขาก็สามารถฟังได้ด้วยญาณของนักดนตรีและทุกอย่างที่เขาต้องประสบอยู่ก็ถูกถ่ายทอดเป็นเสียงดนตรี ช่วงภาวะรันทดใจหลังจากเขากลับมาสู่เวียนนา แล้วก็หันมาจับงานแต่งซิมโฟนีอีก ซึ่งเป็นซิมโฟนี อันดับที่ 3 ที่มีชื่อว่า ?เอรอยกา? (The Eroica Symphony) เป็นเพลงที่แสดงถึงความรู้สึกบูชาในวีรบุรุษ เพลงนี้นับเป็นเพลงที่เปิดศักราชใหม่แห่งโลกดนตรีถือเป็นสัญลักษณ์ของเพลงแบบโรแมนติกที่ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้ละทิ้งเพลงแบบคลาสสิกและแนวของโมสาร์ทและไฮเดินเสียสิ้นเชิง เพลงของบีโธเฟนได้ใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรงลงไปด้วย จึงนับว่าบีโธเฟนเป็นผู้สร้างแนวใหม่ขึ้นและเป็นรากฐานของเพลงซิมโฟนีในกาลต่อมา
บีโธเฟนได้แต่งอุปรากร (Opera) ขึ้นเรื่องหนึ่งใน ค.ศ. 1805 ชื่อ Fidelio ขณะที่พักอยู่ในเวียนนาซึ่งเป็นอุปรากรเรื่องเดียวในชีวิตของเขา ใน ค.ศ. 1806 เขาเริ่มจับปากกาแต่งซิมโฟนีอีก นับเป็นเพลงซิมโฟนีอันดับที่ 4 แต่งขณะที่เขาตกอยู่ในอารมณ์ของความรัก กับน้องสาวของเพื่อน เธอชื่อ เทเรเซ ฟอน บรุนสวิค (Therese Von Brunsvik) ทั้งสองมีความรักต่อกันมาก แต่ประเพณีขวางกั้น เพราะฝ่ายหญิงเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์คนหนึ่งของฮังการีจะแต่งงานกับคนธรรมดาไม่ได้ เพราะจะเป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนของคนทั้งหลาย ในระยะนี้บีโธเฟนก็ใช้เวลาแต่งเพลง Rusumoffsky Quartets (Op. 59) ไปด้วย เพลงซิมโฟนีอันดับ 4 สำเร็จลงในปี ค.ศ. 1807 และได้นำออกแสดงครั้งแรกที่วัง Lobkowitz จากนั้นก็เริ่มแต่งเพลงซิมโฟนีอันดับ 5 พร้อมกันนั้นก็ได้แต่งเพลง Overture Coriolan ในค.ศ. 1808 ซิมโฟนีอันดับที่ 5 ก็เสร็จสมบูรณ์ และได้แต่งซิมโฟนีที่มีชื่อว่า Pastoral Symphony ซึ่งนับเป็นอันดับ 6 ซิมโฟนี้อันนี้แต่งขึ้นจากความรู้สึกที่มีความรักในธรรมชาติ จากความทรงจำที่ได้พบเห็นมาจากการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เมื่อเขาเสนองานชิ้นนี้ต่อประชาชน ก็ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ใน ค.ศ. 1812 บีโธเฟนได้แต่งซิมโฟนีอันดับ 7 และเสร็จสมบูรณ์ในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นปีที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม นโปเลียนกรีฑาทัพเข้ายึดกรุงเวียนนา บีโธเฟนเดินทางไปที่ Baden, Teplitz, Karlsbad, และ Franzensbrunn ไปพบกับเกอเธ่ (Goethe) สหายต่างวัย หลังจากนั้นเขาเริ่มแต่งซิมโฟนีอันดับ 8 ขณะที่เขาเดินทางไปเมือง Teplitz และไปเสร็จสิ้นลงที่เมือง Linz ในปี ค.ศ. 1812 ต่อมาในปี ค.ศ. 1813 ได้แต่งเพลง Cantata Der Glorrerche Augenblick และในปีนี้เขาก็ได้นำเอาซิมโฟนีอันดับ 7 ออกแสดงเป็นครั้งแรกแสดง ณ มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา เพื่อเก็บเงินช่วยเหลือทหารออสเตรียนและบาวาเรียนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสงคราม ในปี ค.ศ. 1814 ก็นำซิมโฟนีอันดับ 8 ออกแสดงเป็นครั้งแรก
เดือนมกราคม ค.ศ. 1815 แสดงคอนเสิร์ต ณ กรุงเวียนนา ต่อมาอีกไม่นานนัก น้องชายที่ชื่อคาร์ลก็ถึงแก่กรรม คาร์ลได้ฝากฝังลูกชายให้บีโธเฟนดูแลร่วมกับภรรยาหม้ายของเขา แต่บีโธ
เฟนต้องการจะคุ้มครองดูแลแต่ผู้เดียว ทางฝ่ายแม่ของเด็กก็ไม่ยินยอม จึงหาวิธีต่างๆ ถึงกับเกิดฟ้องร้องกันในโรงศาล ในที่สุดบีโธเฟนก็เป็นฝ่ายชนะความ ได้หลานชายมาอยู่ในความคุ้มครอง เมื่อได้หลานชายมาแล้วแทนที่เขาจะให้ความอบอุ่นและความสุขแก่เด็ก เขากลับทำทารุณกรรมต่างๆ ต่อหลานชาย เมื่ออยู่ด้วยกันได้นาน 4 ปี หลานชายก็ทนบีบคั้นไม่ไหวจึงหนีไปอยู่กับแม่ แต่บีโธเฟนก็ติดตามเอากลับมาอีกจนได้ สะท้อนให้เห็นความรุนแรงเก็บกดลึก ๆ ในนิสัยของเขา
บีโธเฟนเริ่มแต่งซิมโฟนีอันดับ 9 ในปี ค.ศ. 1817 ซึ่งนับว่าเป็นงานชิ้นเยี่ยมและยิ่งใหญ่ของเขา (Mammoth Ninth Symphony) เขาใช้เวลาเขียนถึง 6 ปี คือมาเสร็จเอาเมื่อ ค.ศ. 1823 และในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 บีโธเฟนก็ได้นำเพลงซิมโฟนีอันดับ 9 อันยิ่งใหญ่ของเขาออกแสดงเป็นครั้งแรก หนังสือพิมพ์ในกรุงเวียนนาลงข่าวการแสดงครั้งนี้อย่างครึกโครม บีโธเฟนกำกับเพลงด้วยตนเอง ในท่ามกลางวงดนตรีอันมหึมา ซึ่งประกอบด้วยนักดนตรีและเครื่องดนตรีนับร้อย ทั้งนักร้องเดี่ยวและนักร้องหมู่อีกหลายสิบคน มีผู้เข้าฟังการแสดงครั้งนี้อย่างล้นหลาม เมื่อการเล่นกระบวนที่หนึ่งได้เริ่มขึ้น เสียงเพลงจากชีวิตของเขาก็กระหึ่มไปทั่วบริเวณ พาผู้ฟังให้เคลิบเคลิ้มเหมือนถูกมนต์สะกด เมื่อกระบวนที่ 1 ได้จบลง เสียงปรบมือและโห่ร้องแสดงความชื่นชมจากผู้ฟังก็ดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว แต่บีโธเฟนผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงเหล่านั้นเลย ยังคงนิ่งเฉยอยู่ กระบวนที่ 2 ก็ได้เริ่มขึ้น ผู้ฟังเงียบกริบเช่นเคย จากนั้นก็เป็นกระบวนที่ 3 ? 4 และต่อไปอีกจนกระทั่งจบเพลง ผู้ฟังยังเงียบอยู่ชั่วครู่ จากนั้นเสียงตะโกนโห่ร้องและเสียงปรบมือแสดงความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จอย่างงดงามครั้งนี้ ก็ดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหวอยู่เป็นเวลานาน แต่บีโธเฟนผู้กำกับเพลง ยังคงยืนหันหลังให้แก่ผู้ฟังเฉยอยู่ สายตาจับจ้องอยู่ที่แผ่นโน้ตเพลงหน้าสุดท้าย นักร้องหญิงคนหนึ่งสังเกตเห็นเช่นนั้นจึงสะกิดเขาเบาๆ ให้หันหน้ามาทางประชาชนคนฟัง จึงทำให้เขาเห็นมือและใบหน้าที่แสดงความชื่นชมยินดีต่องานชิ้นนี้ของเขา เขารู้สึกตื้นตันใจมากจนน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสองข้าง เขาโค้งศีรษะรับด้วยความปลื้มใจที่สุด นี่คือการปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้าย
ในชีวิตอันแสนจะระทมขมขื่นของนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่นี้ เขาดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นโสดตลอดชีวิต ความจริงเขาเคยมีความรักหลายครั้ง แต่ละครั้งที่เขารักผู้หญิงคนใดเขาก็อุทิศผลงานที่เขาแต่งขึ้นในระยะนั้นๆ ให้ทุกคน เขาเคยมีความรักฝังใจอย่างมากอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งจากหลักฐานที่เป็นจดหมายรักที่ค้นพบในระหว่างกองกระดาษบนโต๊ะในห้องของเขาหลังจากที่เขาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ส่วนชีวิตในด้านครอบครัว เขามักกล่าวอยู่เสมอว่า ?เป็นครอบครัวที่เปรียบเสมือนแพแตก? ทุกคนพี่ๆ น้องๆ ต่างพยายามเอาตัวรอด บีโธเฟนมีชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างนี้ตลอดชีวิต เขาเกิดในยุคของเกอเธ่ และวิลเลอร์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์และนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ และบีโธเฟนกับเกอเธ่ ก็เป็นเพื่อนสนิทสนิมกันมาก ถึงแม้ว่าเกอเธ่จะแก่กว่าเขาถึง 21 ปีก็ตาม บีโธเฟนให้ความนับถือแก่เพื่อนคนนี้อย่างมาก เกอเธ่คนเดียวเท่านั้นที่สามารถจะหยุดยั้งอารมณ์ร้ายของเขาได้
หลังจากที่แสดงซิมโฟนีอันดับที่ 9 ผ่านไปราวๆ 2 ปี คือในปี ค.ศ. 1826 สุขภาพของเขายิ่งทรุดโทรมลงเรื่อยๆ หลานชายที่มาอยู่ด้วยก็จะทำอัตนิวิบาตรกรรม แต่มีคนเห็นเสียก่อน จึงถูกนำขึ้นศาลฐานพยายามฆ่าตัวตาย หลานชายได้สารภาพว่า เขาถูกลุงบีบบังคับมาก ไม่มีทางอื่นที่จะหนีความทรมานนี้ได้นอกจากฆ่าตัวตาย บีโธเฟนจึงส่งหลานชายไปอยู่กับโจฮันน์ น้องชายอีกคนหนึ่งของเขา ขณะที่นำหลานชายไปส่งให้น้องชาย วันนั้นอากาศหนาวจัด บีโธเฟนนั่งรถฝ่าความหนาวกลับสู่เวียนนา ทำให้เขาเป็นหวัดอย่างแรงและกลายเป็นโรคปอดบวม พอหายจากโรคปอดบวมก็เป็นโรคดีซ่านและโรคท้องมานติดตามมา เขาต้องนอนซมซานเพราะโรคนี้อยู่หลายเดือน หมอได้ทำการรักษาจนสุดความสามารถ เขานอนซมอยู่บนเตียงหลายเดือน พยายามแต่งซิมโฟนี่หมายเลข 10 แต่ไม่ลุล่วง ต่อมาในบ่ายวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1827 เขาได้สิ้นใจลงในช่วงอากาศปั่นป่วนรุนแรงขณะที่เขามีอายุได้เพียง 57 ปี
>> นี่ล่ะมั้งคะ ที่เค้าว่ากันว่า "ดนตรีที่ไม่มีเสียง แต่กลับไพเราะจับใจ... เสียงที่ไม่ได้ยิน แต่ดังกึกก้องอยู่ในใจของคนดนตรี คนดนตรีเท่านั้น ที่จะได้ยินเสียงในความเงียบและสามารถสัมผัสกับมันได้)
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การหาคอร์ดในคีย์ต่างๆ
กลุ่มคอร์ดในคีย์ต่างๆ
ก่อนอื่นขอยกตารางกลุ่มคอร์ดในทางเมเจอร์ขึ้นมาก่อนดังนี้
ชื่อคีย์
|
คอร์ด 1
|
คอร์ด 2
|
คอร์ด 3
|
คอร์ด 4
|
คอร์ด 5
|
คอร์ด 6
|
คอร์ด 7
|
C
| C | Dm | Em | F | G | Am | Bm7b5 |
C#/Db
| C#/Db | D#m/Ebm | Fm | F#/Gb | G#/Ab | A#m/Bbm | Cm7b5 |
D
| D | Em | F#m | G | A | Bm | C#m7b5 |
D#/Eb
| D#/Eb | Fm | Gm | G#/Ab | A#/Bb | Cm | Dm7b5 |
E
| E | F#m | G#m | A | B | C#m | D#m7b5 |
F
| F | Gm | Am | Bb | C | Dm | Em7b5 |
F#/Gb
| F#/Gb | G#m/Abm | A#m/Bbm | B | C#/Db | D#m/Ebm | Fm7b5 |
G
| G | Am | Bm | C | D | Em | F#m7b5 |
G#/Ab
| G#/Ab | A#m/Bbm | Cm | C#/Db | D#/Eb | Fm | Gm7b5 |
A
| A | Bm | C#m | D | E | F#m | G#m7b5 |
A#/Bb
| A#/Bb | Cm | Dm | D#m/Ebm | F | Gm | Am7b5 |
B
| B | C#m | D#m | E | F# | G#m | A#m7b5 |
** สังเกตุ คอร์ด 6 ของแต่ละคีย์นะคะ จะเห็นว่าเป็นคอร์ดที่ต้องติดไมเนอร์(m)ทั้งหมด
กลุ่มคอร์ดในคีย์ไมเนอร์เขียนได้ดังนี้
ชื่อคีย์
|
คอร์ด 1
|
คอร์ด 2
|
คอร์ด 3
|
คอร์ด 4
|
คอร์ด 5
|
คอร์ด 6
|
คอร์ด 7
|
Am
| Am | Bm7b5 | C | Dm | Em | F | G |
A#m/Bbm
| A#m/Bbm | Cm7b5 | C#/Db | D#m/Ebm | Fm | F#/Gb | G#/Ab |
Bm
| Bm | C#m7b5 | D | Em | F#m | G | A |
Cm
| Cm | Dm7b5 | Eb | Fm | Gm | Ab | Bb |
C#m
| C#m | D#m7b5 | E | F#m | G#m | A | B |
Dm
| Dm | Em7b5 | F | Gm | A | Bb | C |
D#m/Ebm
| D#m/Ebm | Fm7b5 | F#/Gb | G#m/Abm | A#m/Bbm | B | C#/Db |
Em
| Em | F#m7b5 | G | Am | Bm | C | D |
Fm
| Fm | Gm7b5 | Ab | Bbm | Cm | Db | Eb |
F#m
| F#m | G#m7b5 | A | Bm | C#m | D | E |
Gm
| Gm | Am7b5 | Bb | Cm | Dm | Ebm | F |
G#m
| G#m | A#m7b5 | B | C#m | D#m | E | F# |
ที่มา : http://www.guitarkung.com/All%20Pages/lesson%2010%20how%20to%20find%20chord%20(2).html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)