วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ถามมาก็ตอบไป : ใครกันนะ บีโธเฟ่น? - นักดนตรีตรีอัจฉริยะหูหนวก


นั่นสิเป็นคนดนตรีทั้งที รู้จักบรรพบุรุษคนดนตรีกันบ้างรึเปล่าคะ 


-บีโธเฟ่นสุดยอดอัจฉริยะนักดนตรีหูหนวก-    
        เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อหรือรู้จัก "บีโธเฟน" มาบ้างไม่มากก็น้อย เขาไม่เพียงแต่เป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่เขายังเป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เป็นสุดยอดนักดนตรีที่มีคนฟังทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นเมื่อ 200-300 ปีที่แล้วหรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน บีโธเฟนยังคงเป็นคีตกวีชาวเยอรมันผู้สร้างผลงานเพลงคลาสสิกชั้นยอดไว้มากมาย แม้ว่าบีโธเฟ่นจะมีปัญหากับสุขภาพที่ "หู" และประสาทการได้ยินซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาได้ประพันธ์ผลงานเพลงที่ดีที่สุดในชีวิต ความทุกข์ใจโดดเดี่ยวอ้างว้างจากการที่หูของเขาไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ เลย แต่ก็ไม่ทำให้เขาท้อถอยตรงกันข้ามด้วยความพยายามและพรสวรรค์เขายังสามารถสร้างสรรค์ดนตรีและประพันธ์เพลงออกมาได้อย่างดีเยี่ยมจนทุกคนต่างยอมรับว่าในความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี  ทั้งนี้เกิดจากการที่เขานำเอาอารมณ์และความรู้สึกมาเรียบเรียงเป็นความรู้สึกทางด้านดนตรี บีโธเฟ่นเป็นคนแรกของโลกที่สามารถใช้เสียงดนตรีบ่งบอกอารมณ์ของตัวเองได้ชัดเจนที่สุด เพราะด้วยความที่เขาต้องทนอยู่กับความเงียบ เขาจึงใช้ดนตรีถ่ายทอดความรู้สึกของเขาออกมา จนกลายมาเป็นบทเพลงที่ผู้คนสามารถรู้สึกได้ถึงอารมณ์และความรู้สึกที่เขาถ่ายทอดออกมาในแต่ละห้วงของชีวิตของเขา อย่างตรงไปตรงมา ลึกซึ้ง สะท้อนรายละเอียดทุกแง่มุมของความรู้สึกนึกคิดของเขา  ที่สำคัญยังถือเป็นบทเพลงที่อมตะตลอดกาล แม้กระทั่งปัจจุบันนี้บทเพลงของเขาก็ยังถูกนำมาเล่นอยู่เสมอถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างยิ่งของสื่อในสมัยอดีต ที่เสียงดนตรีสามารถถ่ายทอดด้วยความจำ จินตนาการ และความรู้สึกจากคนต่อคน 

(ขอบคุณที่มาจากบทความ http://www.tutorgohome.com/forum/index.php?topic=360.0)

ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, ค.ศ. 1770-1827)

                   บีโธเฟ่นเป็นอัจฉริยะทางด้านการประพันธ์ดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีผลงานทางดนตรีมีเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่และมีสีสันไม่น้อยไปกว่างานของโมสาร์ทเลย เขาถือกำเนิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1770 ในครอบครัวที่ยากจน ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลไรน์ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี พ่อของเขาชื่อ โจฮันน์ ฟาน บีโธเฟน มีอาชีพเป็นนักร้องเสียงเทนเนอร์ประจำวงดนตรีของเจ้าเมือง แม่ชื่อ มาเรีย มักดาเลนา เป็นผู้หญิงที่เรียบร้อย อ่อนหวาน ใจดี มีความรักและเอาใจใส่ต่อลูกๆ ทุกคน บีโธเฟนเป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวนทั้งหมด 7 คน ความยากจนของครอบครัวทำให้ชีวิตในวัยเด็กของเขาเป็นไปอย่างยากลำบาก ประกอบกับพ่อเป็นคนที่มีอารมณ์ร้าย เป็นคนขี้เหล้าเมาหยำเปใช้จ่ายเงินในการซื้อเหล้าหมด ไม่เอาใจใส่ดูแลต่อความทุกข์สุขของครอบครัวเท่าท่าควร บีโธเฟนเป็นเด็กที่มีสารรูปขี้ริ้วขี้เหร่ เงียบขรึม และขี้อาย พ่อเริ่มสอนให้เล่นไวโอลินและเปียโนก่อนที่เขาจะมีอายุ 4 ขวบ แต่เขาเล่นได้ไม่ดีดังที่พ่อหวัง จึงทำให้พ่อโมโหและทำโทษเขาด้วยวิธีเอาไม้เคาะที่ตาตุ่มบ่อยๆ ปีที่บีโธเฟนเกิด "วูล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท" นักดนตรีเอกของโลกมีชื่อเสียงกระฉ่อนทั่วยุโรปในฐานะนักดนตรีอัจฉริยะ โจฮันน์ ฟาน บีโธเฟน มีความใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะให้ลูกชายของเขามีความสามารถและมีชื่อเสียงทางดนตรีโด่งดังเหมือนกับโมสาร์ท พ่อของเขาพยายามเคี่ยวเข็ญลูกชายฝึกฝนเล่นดนตรีอย่างเข้มงวดกวดขันที่สุด จับเขาหัดไวโอลินตั้งแต่ 5 ขวบ เคี่ยวเข็ญให้ท่องจำ และให้ถือไวโอลินตลอดเวลา แต่กระนั้นก็ดี อัจฉริยภาพทางดนตรีของบีโธเฟนก็ยังไม่ปรากฏออกมา นอกจากจะฝึกซ้อมไวโอลินและเปียโนแล้ว พ่อยังบังคับให้เขาเรียนออร์แกนและคลาเวียร์กับเพื่อนคู่หูของพ่อ การย

จะว่าไปแล้วช่วงชีวิตในวัยเด็กของบีโธเฟนนั้นถูกเลี้ยงดูจากคุณปู่ที่เป็นนักดนตรี สิ่งนี้เองที่ทำให้บีโธเฟนมีความสนใจทางด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก แต่ก็น่าเสียดายที่ปู่ของเขาเสียชีวิตลงในตอนที่บีโธเฟนมีอายุได้เพียง 10 ขวบเท่านั้นเอง หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1786 บีโธเฟนเดินทางไปเวียนนาไปเรียนดนตรีกับโมสาร์ทนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น ภายหลังจากที่โมสาร์ทได้ยินเสียงดนตรีที่บีโธเฟนบรรเลงออกมานั้น เขาถึงกับกล่าวออกมาว่า ?จงคอยดูเด็กน้อยคนนี้ให้ดี สักวันหนึ่งเพลงของเขาจะดังก้องไปทั่วโลก? บีโธเฟนฝึกดนตรีอย่างหนักทุกวันและเริ่มแต่งเพลง  และไม่นานนักหลังจากที่เขามาถึงเวียนนา แม่ของเขาก็เสียชีวิตลงด้วยโรควัณโรค ในขณะที่แม่ตายนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี เขาต้องรับภาระดูแลครอบครัวแทนแม่ เขาต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือเจือจุนครอบครัวด้วยการสมัครเข้าเล่นดนตรีในสำนักของเจ้าเมืองบ้าง รับสอนเด็กๆ ที่ชอบทางดนตรี เมื่อเขาอายุ  22 ปี เขาได้ย้ายไปอยู่ที่เวียนนา และเข้าเรียนดนตรีกับไฮเดิน ในตอนแรกเขามีความนิยมชมชอบในตัวครูมาก แต่ไม่นานนักก็เกิดมีความคิดเห็นขัดแย้งกับครูของเขา
 ไฮเดินรู้สึกไม่พอใจกับลูกศิษย์คนนี้นัก เพราะเป็นคนแข็งกระด้าง ท่าทางเงอะงะ ตลอดจนมีความคิดเห็นนอกแบบนอกแผนเชื่อมั่นในตนเองเกินไป ไม่เอาใจใส่ในคำสอนของครูในเรื่องกฎความกลมกลืนของเสียง ทางฝ่ายบีโธเฟนก็เห็นว่าไฮเดินจู้จี้และแก่ทฤษฎีเกินไป ชอบดำเนินตามรอยแบบแผนเก่าๆ และที่สำคัญคือไฮเดินไม่ชอบเพลงทริโอของเขา จึงเกิดขัดใจกัน ในที่สุดเขาจึงออกไปเรียนกับคนอื่น 

ณ นครเวียนนาบีโธเฟนก็ได้ตระเวนเล่นดนตรีไปในที่ต่างๆ จนชื่อเสียงทางเปียโนของเขาเป็นที่รู้จักกันดีทั่วเวียนนา ได้รับความนิยมมากการเล่นของเขาเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกมาอย่างรุนแรงและงดงาม เขามีลูกศิษย์ตลอดจนชนชั้นสูงมาเรียนกับเขามากขึ้น พวกชนชั้นสูงของเวียนนาไม่น้อยที่นิยมเพลงและซื้อบทเพลงของเขาไปเล่นตามวัง จากความสามารถทางดนตรีของเขา ทำให้เจ้าชายและเจ้าหญิงลิคนอฟสกี้ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งในหมู่ชนชั้นสูงนิยมในตัวเขา ได้เชื้อเชิญให้เขาไปพำนักอยู่ในวังและรับเป็นผู้อุปถัมภ์ในทางการเงินและอื่นๆ แก่เขา ขณะที่เขาพักอยู่ในวังเขามีความสะดวกสบายและมีความสุขพอควร ถึงแม้ว่าหน้าตาของเขาจะขี้ริ้วขี้เหร่ มีกิริยาท่าทางซุ่มซ่ามเป็นบ้านนอก แต่งกายปอนๆ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และผิดนัดบ่อยๆ มีอิสระเต็มที่ อยากเล่นอะไร ทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นโดยไม่ต้องเกรงใจใคร บางครั้งก็แสดงกิริยาหยาบคาย หุนหันเอาแต่ใจตัว ขณะที่เขากำลังเล่นเปียโนให้ฟัง ถ้ามีใครพูดคุยและหัวเราะคิกคัก เขาจะโกรธมากและเลิกเล่น แล้วเดินหนีไปเฉยๆ แต่ก็ไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลนหรือแสดงอากัปกิริยารังเกียจเขา ทุกคนพากันมองข้ามสิ่งเหล่านี้โดยไม่เอาใจใส่ เพราะนิยมในความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของเขา

ตั้งแต่ ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา บีโธเฟนก็เปลี่ยนไปเอาดีและก้าวหน้าในทางแต่งเพลง เริ่มต้นด้วยเพลง Kreutzer Sonata สำหรับไวโอลิน The Moonlight และ Pathetic Sonata และเพลงคอนเชอร์โตอีก 3 เพลงสำหรับเปียโน นับเป็น 6 เพลงแรกที่ใช้เล่นกับเครื่องดนตรีสำหรับเล่น 4 คน และเริ่มแต่งเพลงซิมโฟนี จากการแต่งซิมโฟนีอันดับ 1 และ 2 ทำให้เขาได้พบแนวใหม่สำหรับที่จะแต่งเพลงอันดับต่อๆ ไป โดยเห็นช่องทางที่จะใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปได้อย่างเต็มที่ เพลงที่บีโธเฟนแต่งเป็นเพลงที่แสดงออกมาอย่างเสรี แหวกแนว ในระยะแรกที่เพลงของเขาออกสู่ประชาชน ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา เช่นว่า ?นักดนตรีที่นอกแบบแผนเป็นอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี? แต่เขาก็ไม่แยแสว่าใครจะว่าอย่างไร และในตอนที่เขามีอายุได้ 31 ปี หูของเขาก็เริ่มมีอาการผิดปกติ ริ่มมีอาการปวดและอื้อจนขึ้น เจ็บปวดรวดร้าวทำให้เกิดความทนทุกข์ทรมานใจเขาเป็นอย่างยิ่ง หมอได้แนะนำให้เขาไปพักผ่อนตามหมู่บ้านแถบชานเมือง และในที่สุดเขาก็ไม่สามารถได้ยินเสียงใดๆอีกเลย 

                     ในตอนแรกเขาท้อใจและสิ้นหวังจนเกือบจะฆ่าตัวตายไปแล้ว แต่ท้ายที่สุดเขาก็คิดได้และหันมาสู้อีกครั้ง แม้ว่าการสูญเสียประสาททางการได้ยินนั้น จะเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุดสำหรับชีวิตนักดนตรี เขาได้ตั้งปณิธานว่า ?ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด และความพิการจะดึงตัวฉันให้ตกต่ำไม่ได้? จากแรงบันดาลใจอันนี้เอง ทำให้เขาตัดสินใจกลับจากเมืองไฮลิเกนสตัดท์สู่เวียนนาอีกครั้ง ถึงแม้ว่าหูของเขานั้นจะฟังเสียงดนตรีไม่ได้ แต่เขาก็สามารถฟังได้ด้วยญาณของนักดนตรีและทุกอย่างที่เขาต้องประสบอยู่ก็ถูกถ่ายทอดเป็นเสียงดนตรี  ช่วงภาวะรันทดใจหลังจากเขากลับมาสู่เวียนนา แล้วก็หันมาจับงานแต่งซิมโฟนีอีก ซึ่งเป็นซิมโฟนี อันดับที่ 3 ที่มีชื่อว่า ?เอรอยกา? (The Eroica Symphony) เป็นเพลงที่แสดงถึงความรู้สึกบูชาในวีรบุรุษ เพลงนี้นับเป็นเพลงที่เปิดศักราชใหม่แห่งโลกดนตรีถือเป็นสัญลักษณ์ของเพลงแบบโรแมนติกที่ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้ละทิ้งเพลงแบบคลาสสิกและแนวของโมสาร์ทและไฮเดินเสียสิ้นเชิง เพลงของบีโธเฟนได้ใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรงลงไปด้วย จึงนับว่าบีโธเฟนเป็นผู้สร้างแนวใหม่ขึ้นและเป็นรากฐานของเพลงซิมโฟนีในกาลต่อมา
   
บีโธเฟนได้แต่งอุปรากร (Opera) ขึ้นเรื่องหนึ่งใน ค.ศ. 1805 ชื่อ Fidelio ขณะที่พักอยู่ในเวียนนาซึ่งเป็นอุปรากรเรื่องเดียวในชีวิตของเขา ใน ค.ศ. 1806 เขาเริ่มจับปากกาแต่งซิมโฟนีอีก นับเป็นเพลงซิมโฟนีอันดับที่ 4 แต่งขณะที่เขาตกอยู่ในอารมณ์ของความรัก กับน้องสาวของเพื่อน เธอชื่อ เทเรเซ ฟอน บรุนสวิค (Therese Von Brunsvik) ทั้งสองมีความรักต่อกันมาก แต่ประเพณีขวางกั้น เพราะฝ่ายหญิงเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์คนหนึ่งของฮังการีจะแต่งงานกับคนธรรมดาไม่ได้ เพราะจะเป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนของคนทั้งหลาย ในระยะนี้บีโธเฟนก็ใช้เวลาแต่งเพลง Rusumoffsky Quartets (Op. 59) ไปด้วย เพลงซิมโฟนีอันดับ 4 สำเร็จลงในปี ค.ศ. 1807 และได้นำออกแสดงครั้งแรกที่วัง Lobkowitz จากนั้นก็เริ่มแต่งเพลงซิมโฟนีอันดับ 5 พร้อมกันนั้นก็ได้แต่งเพลง Overture Coriolan ในค.ศ. 1808 ซิมโฟนีอันดับที่ 5 ก็เสร็จสมบูรณ์ และได้แต่งซิมโฟนีที่มีชื่อว่า Pastoral Symphony ซึ่งนับเป็นอันดับ 6 ซิมโฟนี้อันนี้แต่งขึ้นจากความรู้สึกที่มีความรักในธรรมชาติ จากความทรงจำที่ได้พบเห็นมาจากการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เมื่อเขาเสนองานชิ้นนี้ต่อประชาชน ก็ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม    ใน ค.ศ. 1812 บีโธเฟนได้แต่งซิมโฟนีอันดับ 7 และเสร็จสมบูรณ์ในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นปีที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม นโปเลียนกรีฑาทัพเข้ายึดกรุงเวียนนา บีโธเฟนเดินทางไปที่ Baden, Teplitz, Karlsbad, และ Franzensbrunn ไปพบกับเกอเธ่ (Goethe) สหายต่างวัย หลังจากนั้นเขาเริ่มแต่งซิมโฟนีอันดับ 8 ขณะที่เขาเดินทางไปเมือง Teplitz และไปเสร็จสิ้นลงที่เมือง Linz ในปี ค.ศ. 1812 ต่อมาในปี ค.ศ. 1813 ได้แต่งเพลง Cantata Der Glorrerche Augenblick และในปีนี้เขาก็ได้นำเอาซิมโฟนีอันดับ 7 ออกแสดงเป็นครั้งแรกแสดง ณ มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา เพื่อเก็บเงินช่วยเหลือทหารออสเตรียนและบาวาเรียนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสงคราม ในปี ค.ศ. 1814 ก็นำซิมโฟนีอันดับ 8 ออกแสดงเป็นครั้งแรก
เดือนมกราคม ค.ศ. 1815 แสดงคอนเสิร์ต ณ กรุงเวียนนา ต่อมาอีกไม่นานนัก น้องชายที่ชื่อคาร์ลก็ถึงแก่กรรม คาร์ลได้ฝากฝังลูกชายให้บีโธเฟนดูแลร่วมกับภรรยาหม้ายของเขา แต่บีโธ
เฟนต้องการจะคุ้มครองดูแลแต่ผู้เดียว ทางฝ่ายแม่ของเด็กก็ไม่ยินยอม จึงหาวิธีต่างๆ ถึงกับเกิดฟ้องร้องกันในโรงศาล ในที่สุดบีโธเฟนก็เป็นฝ่ายชนะความ ได้หลานชายมาอยู่ในความคุ้มครอง เมื่อได้หลานชายมาแล้วแทนที่เขาจะให้ความอบอุ่นและความสุขแก่เด็ก เขากลับทำทารุณกรรมต่างๆ ต่อหลานชาย เมื่ออยู่ด้วยกันได้นาน 4 ปี หลานชายก็ทนบีบคั้นไม่ไหวจึงหนีไปอยู่กับแม่ แต่บีโธเฟนก็ติดตามเอากลับมาอีกจนได้ สะท้อนให้เห็นความรุนแรงเก็บกดลึก ๆ ในนิสัยของเขา
   
บีโธเฟนเริ่มแต่งซิมโฟนีอันดับ 9 ในปี ค.ศ. 1817 ซึ่งนับว่าเป็นงานชิ้นเยี่ยมและยิ่งใหญ่ของเขา (Mammoth Ninth Symphony) เขาใช้เวลาเขียนถึง 6 ปี คือมาเสร็จเอาเมื่อ ค.ศ. 1823 และในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 บีโธเฟนก็ได้นำเพลงซิมโฟนีอันดับ 9 อันยิ่งใหญ่ของเขาออกแสดงเป็นครั้งแรก หนังสือพิมพ์ในกรุงเวียนนาลงข่าวการแสดงครั้งนี้อย่างครึกโครม บีโธเฟนกำกับเพลงด้วยตนเอง ในท่ามกลางวงดนตรีอันมหึมา ซึ่งประกอบด้วยนักดนตรีและเครื่องดนตรีนับร้อย ทั้งนักร้องเดี่ยวและนักร้องหมู่อีกหลายสิบคน มีผู้เข้าฟังการแสดงครั้งนี้อย่างล้นหลาม เมื่อการเล่นกระบวนที่หนึ่งได้เริ่มขึ้น เสียงเพลงจากชีวิตของเขาก็กระหึ่มไปทั่วบริเวณ พาผู้ฟังให้เคลิบเคลิ้มเหมือนถูกมนต์สะกด เมื่อกระบวนที่ 1 ได้จบลง เสียงปรบมือและโห่ร้องแสดงความชื่นชมจากผู้ฟังก็ดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว แต่บีโธเฟนผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงเหล่านั้นเลย ยังคงนิ่งเฉยอยู่ กระบวนที่ 2 ก็ได้เริ่มขึ้น ผู้ฟังเงียบกริบเช่นเคย จากนั้นก็เป็นกระบวนที่ 3 ? 4 และต่อไปอีกจนกระทั่งจบเพลง ผู้ฟังยังเงียบอยู่ชั่วครู่ จากนั้นเสียงตะโกนโห่ร้องและเสียงปรบมือแสดงความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จอย่างงดงามครั้งนี้ ก็ดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหวอยู่เป็นเวลานาน แต่บีโธเฟนผู้กำกับเพลง ยังคงยืนหันหลังให้แก่ผู้ฟังเฉยอยู่ สายตาจับจ้องอยู่ที่แผ่นโน้ตเพลงหน้าสุดท้าย นักร้องหญิงคนหนึ่งสังเกตเห็นเช่นนั้นจึงสะกิดเขาเบาๆ ให้หันหน้ามาทางประชาชนคนฟัง จึงทำให้เขาเห็นมือและใบหน้าที่แสดงความชื่นชมยินดีต่องานชิ้นนี้ของเขา เขารู้สึกตื้นตันใจมากจนน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสองข้าง เขาโค้งศีรษะรับด้วยความปลื้มใจที่สุด นี่คือการปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้าย
   
ในชีวิตอันแสนจะระทมขมขื่นของนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่นี้ เขาดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นโสดตลอดชีวิต ความจริงเขาเคยมีความรักหลายครั้ง แต่ละครั้งที่เขารักผู้หญิงคนใดเขาก็อุทิศผลงานที่เขาแต่งขึ้นในระยะนั้นๆ ให้ทุกคน เขาเคยมีความรักฝังใจอย่างมากอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งจากหลักฐานที่เป็นจดหมายรักที่ค้นพบในระหว่างกองกระดาษบนโต๊ะในห้องของเขาหลังจากที่เขาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ส่วนชีวิตในด้านครอบครัว เขามักกล่าวอยู่เสมอว่า ?เป็นครอบครัวที่เปรียบเสมือนแพแตก? ทุกคนพี่ๆ น้องๆ ต่างพยายามเอาตัวรอด  บีโธเฟนมีชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างนี้ตลอดชีวิต เขาเกิดในยุคของเกอเธ่ และวิลเลอร์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์และนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ และบีโธเฟนกับเกอเธ่ ก็เป็นเพื่อนสนิทสนิมกันมาก ถึงแม้ว่าเกอเธ่จะแก่กว่าเขาถึง 21 ปีก็ตาม บีโธเฟนให้ความนับถือแก่เพื่อนคนนี้อย่างมาก เกอเธ่คนเดียวเท่านั้นที่สามารถจะหยุดยั้งอารมณ์ร้ายของเขาได้
   
หลังจากที่แสดงซิมโฟนีอันดับที่ 9 ผ่านไปราวๆ 2 ปี คือในปี ค.ศ. 1826 สุขภาพของเขายิ่งทรุดโทรมลงเรื่อยๆ หลานชายที่มาอยู่ด้วยก็จะทำอัตนิวิบาตรกรรม แต่มีคนเห็นเสียก่อน จึงถูกนำขึ้นศาลฐานพยายามฆ่าตัวตาย หลานชายได้สารภาพว่า เขาถูกลุงบีบบังคับมาก ไม่มีทางอื่นที่จะหนีความทรมานนี้ได้นอกจากฆ่าตัวตาย บีโธเฟนจึงส่งหลานชายไปอยู่กับโจฮันน์ น้องชายอีกคนหนึ่งของเขา ขณะที่นำหลานชายไปส่งให้น้องชาย วันนั้นอากาศหนาวจัด บีโธเฟนนั่งรถฝ่าความหนาวกลับสู่เวียนนา ทำให้เขาเป็นหวัดอย่างแรงและกลายเป็นโรคปอดบวม พอหายจากโรคปอดบวมก็เป็นโรคดีซ่านและโรคท้องมานติดตามมา เขาต้องนอนซมซานเพราะโรคนี้อยู่หลายเดือน หมอได้ทำการรักษาจนสุดความสามารถ  เขานอนซมอยู่บนเตียงหลายเดือน พยายามแต่งซิมโฟนี่หมายเลข 10 แต่ไม่ลุล่วง ต่อมาในบ่ายวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1827 เขาได้สิ้นใจลงในช่วงอากาศปั่นป่วนรุนแรงขณะที่เขามีอายุได้เพียง 57 ปี  

>> นี่ล่ะมั้งคะ ที่เค้าว่ากันว่า "ดนตรีที่ไม่มีเสียง แต่กลับไพเราะจับใจ... เสียงที่ไม่ได้ยิน แต่ดังกึกก้องอยู่ในใจของคนดนตรี คนดนตรีเท่านั้น ที่จะได้ยินเสียงในความเงียบและสามารถสัมผัสกับมันได้) 

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การหาคอร์ดในคีย์ต่างๆ


กลุ่มคอร์ดในคีย์ต่างๆ

ก่อนอื่นขอยกตารางกลุ่มคอร์ดในทางเมเจอร์ขึ้นมาก่อนดังนี้

ชื่อคีย์
คอร์ด 1
คอร์ด 2
คอร์ด 3
คอร์ด 4
คอร์ด 5
คอร์ด 6
คอร์ด 7
C
CDmEmFGAmBm7b5
C#/Db
C#/DbD#m/EbmFmF#/GbG#/AbA#m/BbmCm7b5
D
DEmF#mGABmC#m7b5
D#/Eb
D#/EbFmGmG#/AbA#/BbCmDm7b5
E
EF#mG#mABC#mD#m7b5
F
FGmAmBbCDmEm7b5
F#/Gb
F#/GbG#m/AbmA#m/BbmBC#/DbD#m/EbmFm7b5
G
GAmBmCDEmF#m7b5
G#/Ab
G#/AbA#m/BbmCmC#/DbD#/EbFmGm7b5
A
ABmC#mDEF#mG#m7b5
A#/Bb
A#/BbCmDmD#m/EbmFGmAm7b5
B
BC#mD#mEF#G#mA#m7b5

** สังเกตุ คอร์ด 6 ของแต่ละคีย์นะคะ จะเห็นว่าเป็นคอร์ดที่ต้องติดไมเนอร์(m)ทั้งหมด



กลุ่มคอร์ดในคีย์ไมเนอร์เขียนได้ดังนี้

ชื่อคีย์
คอร์ด 1
คอร์ด 2
คอร์ด 3
คอร์ด 4
คอร์ด 5
คอร์ด 6
คอร์ด 7
Am
AmBm7b5CDmEmFG
A#m/Bbm
A#m/BbmCm7b5C#/DbD#m/EbmFmF#/GbG#/Ab
Bm
BmC#m7b5DEmF#mGA
Cm
CmDm7b5EbFmGmAbBb
C#m
C#mD#m7b5EF#mG#mAB
Dm
DmEm7b5FGmABbC
D#m/Ebm
D#m/EbmFm7b5F#/GbG#m/AbmA#m/BbmBC#/Db
Em
EmF#m7b5GAmBmCD
Fm
FmGm7b5AbBbmCmDbEb
F#m
F#mG#m7b5ABmC#mDE
Gm
GmAm7b5BbCmDmEbmF
G#m
G#mA#m7b5BC#mD#mEF#



ที่มา : http://www.guitarkung.com/All%20Pages/lesson%2010%20how%20to%20find%20chord%20(2).html



วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ดนตรีคลาสสิคในยุคต่างๆ (สอบโอเน็ตคราวหน้าอ่านไปเลยเด็กน้อยทั้งหลาย ไม่เสียหลาย)

ค้างคาใจกับข้อสอบโอเน็ตและพรีโอเน็ตที่ผ่านมา เนื้อหาวิชาดนตรียากแท้  พยายามหาทางสรุปมันออกมาอยู่ วันนี้ได้มาแล้ว โอแม่เจ้า นี่มันวิชาประวัติดนตรีตะวันตก แห่งภาควิชาดนตรี-ดุริยศิลป์เลยนะนั่น เด็กๆปีหน้าเตรียมตัวท่องไปเลยเด้
-------------------------------------------
 >>>>> ยุคกลาง (Medieval or Middle Age)ค.ศ.500-1400 พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943) 
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ รูปแบบเพลงในยุคนี้จะเน้นที่การร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงสวด (Chant) ที่ตอนปลายของยุคกลางเริ่มมีการร้องเพลงแบบสอดทำนองประสานด้วย 


 >>>>> ยุคคเรเนสซองส์ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600 พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143) 
นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายยุคกลางในสมัยศิลป์ใหม่ เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น 


 >>>>> ยุคบาโรค (Baroque) ค.ศ.1600-1750 (พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)  
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดี เป็นต้น 


 >>>>> ยุคคลาสสิก (Classical)ค.ศ.1750-1820 (พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363) 
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่แน่นอน คือ วงแชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตรา ซึ่งวงออร์เคสตราในยุคนี้มีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท และยังถือเป็นแบบแผนของวงออร์เคสตราในปัจจุบัน นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น  (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรปอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวันตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึงจุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์     นักดนตรีและคีตกวีที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงหลายท่านได้หลั่งไหลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเวียนนา อาทิเช่น กลุ๊ค (Gluck) ไฮเดิ้น (Haydn) โมสาร์ท (Mozart) บีโธเฟ่น (Beethoven) ชูเบิร์ท (Schubert) บราหมส์ (Brahms) สเตราส์ (Struass) บรู๊คเนอร์ ( Bruckner) วูล์ฟ (Wolf ) มาห์เลอร์ (Mahler) เชินเบอร์ก(Shoenberg) เวเบิร์น (Webern) เป็นต้น 


ศิลปินเหล่านี้เป็นผู้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การดนตรีในยุคคลาสสิกเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วกรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่นๆ อีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีนครใดในโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยะทางดนตรีเช่นนครแห่งนี้อีกแล้ว ในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรป นักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนัก ศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงส่ง และมรดกที่ที่ได้รับสืบทอดมาจากยุคนี้คือ ซิมโฟนี (Symphony) ซึ่งเป็นดนตรีที่คีตกวีประพันธ์ขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์และแบบแผนเช่นเดียวกับดนตรีอุปรากร (Opera)และโซนาต้า (Sonata) โซนาต้าและซิมโฟนี่แห่งยุคคลาสสิก    


โซนาต้าในยุคนี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้มีความหมายแตกต่างออกไปจากศตวรรษที่แล้ว โดยหมายถึงการบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวหรือสองชิ้น เช่น Sonata for Violin หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน Piano Sonata หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวเปียโน หรือ Sonata for String Quartet หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น เป็นต้น แต่โครงสร้างของบทเพลงโซนาต้าหรือ นั้นเป็นแบบอย่างเดียวกับบทเพลงซิมโฟนี่ดังนี้คือ บทเพลงซิมโฟนี่ประกอบด้วย 4 ท่อนหรือ Movement แต่บางครั้งอาจมีความยาวกว่า 4 ท่อนก็ได้    โดยทั่วไปนั้น ท่อนที่ 1(First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด อาจมีลีลาที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนา ธีม (Theme) หรือเนื้อหาหลักของเพลงจากท่อนแรก ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอ็ท (Minuet) ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็จะเป็นลีลาที่ผันแปรมาจากท่วงทำนองหลักหรือ ธีม ของเพลงเป็นต้น ซิมโฟนีเป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความไพเราะและยิ่งใหญ่ สามารถใช้ทดสอบความสามารถและความคิดริเริ่มของคีตกวีแต่ละท่านได้เป็นอย่างดี ดนตรีแห่งยุคคลาสสิกมีความรุ่งเรืองสูงส่ง ซึ่งเราจะสังเกตได้จากวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้นและวาทยกร (Conductor) 1 คน การจัดจำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีขึ้นอยู่กับวาทยากรแต่ละท่าน วงซิมโฟนีได้ถือกำเนิดครั้งแรกในยุคคลาสสิกนี้เองและได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้  


 >>>>> ยุคโรแมนติก (Romantic)ค.ศ.1820-1900 พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ การใช้ความดังความเบาที่ชัดเจน และทำนอง จังหวะ ลีลาที่เน้นไปยังอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโทเฟิน ชูเบิร์ต โชแปง วากเนอร์ บราห์มส์ ไชคอฟสกี้ เป็นต้น   ดนตรียุคโรแมนติกมีลักษณะของแนวทำนองที่เต็มไปด้วยการบรรยายความรู้สึก มีแนวทำนองเด่นชัด ลักษณะการแบ่งวรรคตอนเพลงไม่ตายตัว การประสานเสียงได้พัฒนาต่อจากยุคคลาสสิกทำให้เกิดการคิดคอร์ดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อใช้แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก มีการนำคอร์ดที่เสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น มีการใช้โน้ตนอกคอร์ด บันไดเสียงที่มีโน้ตครึ่งเสียง (Chromatic Scale) การเปลี่ยนบันไดเสียงหนึ่งไปอีกบันไดเสียงหนึ่งอย่างคาดไม่ถึง การประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) ยังคงเป็นลักษณะเด่นสืบเนื่องมาจากยุคคลาสสิก การใช้เสียงดัง-เบา มีตั้งแต่ ppp ไปจนถึง fff คีตลักษณ์ของเพลง (form) ยังคงเป็นแบบ Sonata Form แบบยุคคลาสสิก แต่มีความยืดหยุ่นของโครงสร้าง 


ในยุคนี้ดนตรีบรรเลง และบทเพลงสำหรับเปียโน เป็นที่นิยมประพันธ์กันมากขึ้น ลักษณะของวงออร์เคสตราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงจะกำหนด เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงสำหรับชาวบ้านเป็นที่นิยมประพันธ์กัน แต่เพลงโบสถ์ก็ยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นกัน ในลักษณะของเพลงแมส ที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธี และเพลงเรควีเอ็ม ที่ใช้ในพิธีศพ สำหรับบทเพลงโอเปร่า และเพลงร้องก็มีพัฒนาการควบคู่ไป เนื้อร้องมีตั้งแต่การล้อการเมือง ความรักกระจุ๋มกระจิ๋ม ไปจนถึงเรื่องโศกนาฎกรรม   


>>>>> ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism)ค.ศ.1900-2000 พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2453) 
พัฒนารูปแบบของดนตรีโดยนักดนตรีชาวฝรั่งเศส โดยมีเดอบุชซีเป็นผู้นำ ลักษณะดนตรีของยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เต็มไปด้วยจินตนาการ อารมณ์ที่เพ้อฝัน ประทับใจ ต่างไปจากดนตรีสมัยโรแมนติกที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ 


 >>>>> ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน (20th Century Music พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน) 
นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น  
 -------------------------------------- 


 รายชื่อคีตกวีแบ่งตามยุค   
 >>>>> ยุคกลาง    
เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1130-1180)  
เพโรแตง (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220) 
จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
 ฟรานเชสโก ลานดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397) 
กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377) 
ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry) 
โซลาช (Solage) 
เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze) 

 >>>>> ยุคเรเนสซองส์ 
จอห์น ดันสเตเบิล (John Dunstable) 
กิโยม ดูเฟย์ (Guillaume Dufay) 
โยฮันเนส โอคีกัม (Johannes Ockeghem) 
โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis) 
จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez) 
ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht) 
โคลด เลอเชิน (Claude Le Jeune) 
จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina) 
วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd) 
คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi) 
ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso) 
คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo) 
อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert)  

>>>>> ยุคบาโรค 
ดิทริช บุกสเตฮูเด (Dietrigh Buxtehude, ประมาณค.ศ. 1637-1707) 
โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel, ค.ศ. 1653-1706) 
อเลสซานโด สการ์แลตตี (Alessando Scarlatti, ค.ศ. 1660-1725) 
อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi, ค.ศ. 1678-1714) 
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach, ค.ศ. 1685-1750) 
จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล (Georg Friedrich Händel, ค.ศ. 1685-1759) 
ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully) 
ฌอง ฟิลลิป ราโม (Jean Phillippe Rameau) 
เกออร์ก ฟิลลิป เทเลมันน์ (Georg Phillip Telemann) 
เฮ็นรี่ เพอร์เซ็ล (Henry Purcell) 

 >>>>> ยุคคลาสสิก  
คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck, ค.ศ. 1750-1820) 
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn, ค.ศ. 1732-1809) 
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, ค.ศ. 1756-1791) 
ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, ค.ศ. 1770-1827)
คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอ็ล บาค (Carl Phillip Emanuel Bach) 
โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach) 

 >>>>> ยุคโรแมนติก   
 ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) 
เอกเตอร์ แบร์ลิออส (Hector Berlioz) 
เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Felix Mendelssohn-Batholdy) 
เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frédéric François Chopin) 
นิกโคโล ปากานินี (Niccolò Paganini) 
โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) 
ฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) 
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) 
จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi) 
แบดริช สเมตานา (Bedrich Smetana) 
โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms) 
จอร์จ บิเซต์ (Georges Bizet) 
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky)
 แอนโทนิน ดโวชาค (Antonín Dvořák) 
จิอาโคโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) 
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler)
 เซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ (Sergej Vasilevič Rakhmaninov) 
ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) 
ยาน ซิเบลิอุส (Jean Sibelius) 
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง บิดา (Johann Strauss father) 
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง บุตร (Johann Strauss son) 
ชาก ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach) 
ชาร์ล กูโน (Charles Gounod) 
อันโตน บรูคเนอร์ (Anton Bruckner) 
ฮูโก โวล์ฟ (Hugo Wolf) 

 >>>>> ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ 
โคล้ด เดอบุซซี (Claude Debussy) 
มอริส ราเวล (Maurice Ravel) 

 >>>>> ยุคศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน 
 ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives) 
อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg) 
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) 
เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók) 
โซลตาน โคดาย (Zaltán Kodály) 
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) 
อันโตน เวเบิร์น (Anton Webern) 
อัลบัน เบิร์ก (Alban Berg) 
เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev) 
พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith) 
จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin) 
อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, ค.ศ. 1900-1990) 
ดิมิทรี ดิมิทรีวิช ชอสตาโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich, ค.ศ. 1906-1975) 
โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen, ค.ศ. 1908-1992) 
เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter, ค.ศ. 1908-ปัจจุบัน) 
วิโทลด์ ลูโทสลาฟสกี้ (Witold Lutoslawski) 
จอห์น เคจ (John Cage, ค.ศ. 1912-1992) 
ปิแอร์ บูเลซ (Pierre Boulez, ค.ศ. 1925-ปัจจุบัน) 
ลูเซียโน เบริโย (Luciano Berio, ค.ศ. 1925-2003) 
คาร์ลไฮน์ สต็อกเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen, ค.ศ. 1928-2006) 
ฟิลิป กลาส (Philip Glass) ลุยจิ โนโน (Luigi Nono) 
ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis, ค.ศ. 1922-2001) 
มิลตัน แบ็บบิท (Milton Babbitt) 
วอล์ฟกัง รีห์ม (Wolfgang Rihm) 
อาร์โว แพรท (Arvo Pärt) 
โซเฟีย กุไบดูลินา (Sofia Gubaidulina) 
Giya Kancheli ยอร์กี ลิเกตี (György Ligeti) 
กชึชตอฟ แปนแดแรตสกี (Krzysztof Penderecki) 
ยอร์กี เคอร์ทัค (György Kurtag) 
เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann) 
สตีฟ ไรค์ (Steve Reich) 
จอห์น อดัมส์ (John Adams) 
John Zorn 
โตรุ ทาเคมิตสึ (Toru Takemitsu) 
Tan Dun Chen Yi Unsuk Chin   


 *** แบ่งตามโครงสร้างบทเพลง (Form) 
คอนแชร์โต - Concerto 
ซิมโฟนี - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia] 
โซนาต้า - Sonata 
ฟิวก์ - Fugue เป็นการประพันธ์เพลงที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากแขนงหนึ่ง นิยมในยุคบาโรก จะเริ่มต้นด้วยทำนองที่เรียกว่า Subject จากนั้นจะเปลี่ยนแปลงทำนอง เรียกว่า Answer 
พรีลูด - Prelude บทเพลงที่ทำหน้าที่เป็นบทนำทางดนตรี มักใช้คู่กันกับเพลงแบบฟิวก์ หรือใช้บรรเลงนำเพลงชุดสวีต 
โอเวอร์เจอร์ - Overture เพลงโหมโรงที่บรรเลงก่อนการแสดงอุปรากรหรือละคร 
บัลลาด - Ballade เป็นบทประพันธ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เป็นเพลงชับร้องที่กำกับด้วยเปียโน 
เอทู๊ด - Etude เป็นบทประพันธ์เพื่อฝึกหัดการบรรเลงด้วยเปียโนหรือไวโอลิน 
มาร์ช - March เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการเดินขบวนแถวของหมู่คน 
วาริเอชั่น - Variation 
แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy] 
น็อคเทิร์น - Nocturne/Nocturno เป็นเพลงที่บรรเลงยามค่ำคืน มีทำนองเยือกเย็นอ่อนหวาน ส่วนมากใช้เปียโนบรรเลง 
มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet] 
เซเรเนด - Serenade เพลงขับร้อง หรือบรรเลงเครื่องดนตรี ที่มีทำนองเยือกเย็นและอ่อนหวาน มักเป็นบทเพลงที่ผู้ชายนำมาเกี้ยวพาราสีผู้หญิง โดยยืนร้องใต้หน้าต่างในยามค่ำคืน 
แคนนอน - Canon เป็นคีตลักษณ์ที่มีแบบแผนแน่นอน มีการบรรเลง ทำนองและการขับร้องที่เหมือนกันทุกประการ แต่เริ่มบรรเลงไม่พร้อมกัน เรียกอีกชื่อว่า Round 
แคนแคน - Can-Can เป็นเพลงเต้นรำสไตล์ไนท์คลับของประเทศฝรั่งเศส เกิดในช่วงศตวรรษที่ 19 
คาปริโซ - Caprice บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา 
โพลก้า - Polka เพลงเต้นรำแบบหนึ่ง มีกำเนิดมาจากชนชาติโบฮีเมียน 
ตารันเตลลา - Tarantella การเต้นรำแบบอิตาเลียน มีจังหวะที่เร็ว 
จิก - Gigue เป็นเพลงเต้นรำของอิตาลี เกิดในศตวรรษที่ 18 มักอยู่ท้ายบทของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
กาวอท - Gavotte เป็นเพลงเต้นรำของฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 มีรูปแบบแบบสองตอน (Two-parts) มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
โพโลเนส - Polonaise เป็นเพลงเต้นรำประจำชาติโปแลนด์ เกิดในราชสำนัก เป็นเพลงประเภทวอลท์ซ มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
สวีต - Suite เพลงชุดที่นำบทเพลงที่มีจังหวะเต้นรำมาบรรเลงต่อกันหลายๆ เพลง พบมากในโอเปร่า และบัลเลต์ 
อาราเบส - Arabesque เป็นดนตรีที่มีลีลาแบบอาหรับ 
ฮิวเมอเรสค์ - Humoresque เป็นบทประพันธ์สั้นๆ มีลีลาสนุกสนานร่าเริง อย่างมีชีวิตชีวา 
ทอคคาต้า - Toccata บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว อิสระ ในแบบฉบับของเคาน์เตอร์พอยด์ 
บากาเตล - Bagatelle เป็นคีตนิพนธ์ชิ้นเล็กๆ สำหรับให้เปียโนบรรเลง มีจุดเด่นคือทำนองจำได้ง่าย เช่นเพลง Fur Elise 
ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento 
บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music 
โมเต็ต - Motet เพลงที่ใช้ขับร้องในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ใช้วงขับร้องประสานเสียงในการร้องหมู่ ภายหลังจึงเริ่มมีเครื่องดนตรีคลอเสียงร้อง 
แพสชั่น - Passion เพลงสวดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู 
ออราทอริโอ - Oratorio เพลงประเภทขับร้อง บทร้องเป็นเรื่องราวขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ มีลักษณะคล้ายโอเปร่า แต่ไม่มีการแต่งกาย ไม่มีฉากและการแสดงประกอบ 
คันตาตา - Cantata เพลงสำหรับศาสนาสั้นๆ มีทั้งร้องในโบสถ์ และร้องตามบ้าน 
แมส - Mass เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อประกอบในศาสนพิธีของศาสนาคริสต์ 
เรควีเอ็ม - Requiem เพลงสวดเกี่ยวกับความตาย
 ===================== 
เครดิตบทความ : ครูมด เมโลดี้ เฮาส์ 
 http://lapoy.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตามคำเรียกร้อง ตั้งสาย Ukulele ได้ที่นี่จ้า

มาแล้วค่า ตามคำเรียกร้อง !!
หาคนตั้งสายให้ไม่ได้ จูนเน่อร์ก็ไม่มี เอานี่ไป นั่งอยู่บ้านตั้งเองได้ หรือจะออกไปที่ไหนอัดคลิปเสียงอันนี้ลงมือถือติดตัวไว้เหมือนครู ไม่มีจูนเน่อร์ก็ไม่เป็นปัญหา

Ukulele Tuner


เห็นนักเรียนหลายคน เอาอู๊คมาให้ช่วยตั้งสายให้
และก็เจอเหตุการณ์ แบกอู๊คมาเสียเที่ยวซะนี่

อย่างล่าสุด วันเสาร์


เด็กชาย บ. (นามสมมุติ) :    "ฮาโหล ครูอยู่ไหนคร๊าาาบบบ ผมอยู่หน้าห้องครู
(แหบรถมอไซด์จากบ้านข้ามเขามา 3 ลูก)

ครูปอย :     ว่า.... ?

เด็กชาย บ. (นามสมมุติ) :   พอดีเอาอูคูเลเล่มาขอครูช่วยตั้งสายให้หน่อยอ่าฮับ
ครูอยู่ตรงหนายฮับ เด๋วผมเดินไปหาาา !!!??? \(^o^)/  (น้ำเสียงเริงร่า...)

  . . . . . . . . !!!
ครูปอย :     อยู่เชียงใหม่...
(พร้อมจกหนมเส้นเข้าปาก ซดน้ำโพดๆ)



เด็กชาย บ.   : ...!!



- The End - จบข่าว -



ครูปอย :     ...ว่าไง?  จะเดินมาถึงกี่โมง? เด๋วครูรอค่ะ  ^^

เด็กชาย บ. (นามสมมุติ) :   เอ่ออ.. อ่า... เอาเป็น... ไว้ก่อนก็ได้ฮับ  (หยุดเริงร่าในทันใด)
เด๋วไงผมมีพี่ชายเพื่อนอีกคน มันก็ตั้งได้ เด๋วผมลองไปหาเค้าดูก๊ะได้... ฮับคู...

เด็กชาย บ.จบประโยคสุดท้ายด้วยน้ำเสียงอันแผ่วเบาแล้วขี่รถจากไป

ลมพัดใบไม้แห้ง ปลิวตลบฝุ่นผ่านหลัง บ. ไปเอ่ื่อยๆ ออกสู่ถนนไปอย่างเงียบๆจนสุดสายตา
เพื่อเดินผ่านหมู่บ้านไปอีก 3 หมู่บ้าน อ้อมเขาไปอีก 2 ลูกครึ่ง พร้อมกับอู๊คสายเพี้ยนๆ 1 ตัว
.........




Ex: Interval (ขั้นคู่)


ต่อไปจะมาพูดถึงเรื่องพื้นฐานของคอร์ด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ Interval (ขั้นคู่) อย่างแน่นแฟ้น


นี่คือตัวอย่าง Consonant Interval
****************************************

 
 ****************************************


เรียบเรียง2แนว ใช้แต่ Consonant Interval
 


****************************************


อันนี้เป็นการผสมผสานเสียงคู่ Consonant กับ Disonant ในจังหวะเบาๆ


 


ส่วนนี่อย่าง Dissonant Interval