วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ดนตรีคลาสสิคในยุคต่างๆ (สอบโอเน็ตคราวหน้าอ่านไปเลยเด็กน้อยทั้งหลาย ไม่เสียหลาย)

ค้างคาใจกับข้อสอบโอเน็ตและพรีโอเน็ตที่ผ่านมา เนื้อหาวิชาดนตรียากแท้  พยายามหาทางสรุปมันออกมาอยู่ วันนี้ได้มาแล้ว โอแม่เจ้า นี่มันวิชาประวัติดนตรีตะวันตก แห่งภาควิชาดนตรี-ดุริยศิลป์เลยนะนั่น เด็กๆปีหน้าเตรียมตัวท่องไปเลยเด้
-------------------------------------------
 >>>>> ยุคกลาง (Medieval or Middle Age)ค.ศ.500-1400 พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943) 
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ รูปแบบเพลงในยุคนี้จะเน้นที่การร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงสวด (Chant) ที่ตอนปลายของยุคกลางเริ่มมีการร้องเพลงแบบสอดทำนองประสานด้วย 


 >>>>> ยุคคเรเนสซองส์ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600 พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143) 
นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายยุคกลางในสมัยศิลป์ใหม่ เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น 


 >>>>> ยุคบาโรค (Baroque) ค.ศ.1600-1750 (พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)  
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดี เป็นต้น 


 >>>>> ยุคคลาสสิก (Classical)ค.ศ.1750-1820 (พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363) 
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่แน่นอน คือ วงแชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตรา ซึ่งวงออร์เคสตราในยุคนี้มีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท และยังถือเป็นแบบแผนของวงออร์เคสตราในปัจจุบัน นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น  (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรปอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวันตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึงจุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์     นักดนตรีและคีตกวีที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงหลายท่านได้หลั่งไหลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเวียนนา อาทิเช่น กลุ๊ค (Gluck) ไฮเดิ้น (Haydn) โมสาร์ท (Mozart) บีโธเฟ่น (Beethoven) ชูเบิร์ท (Schubert) บราหมส์ (Brahms) สเตราส์ (Struass) บรู๊คเนอร์ ( Bruckner) วูล์ฟ (Wolf ) มาห์เลอร์ (Mahler) เชินเบอร์ก(Shoenberg) เวเบิร์น (Webern) เป็นต้น 


ศิลปินเหล่านี้เป็นผู้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การดนตรีในยุคคลาสสิกเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วกรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่นๆ อีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีนครใดในโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยะทางดนตรีเช่นนครแห่งนี้อีกแล้ว ในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรป นักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนัก ศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงส่ง และมรดกที่ที่ได้รับสืบทอดมาจากยุคนี้คือ ซิมโฟนี (Symphony) ซึ่งเป็นดนตรีที่คีตกวีประพันธ์ขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์และแบบแผนเช่นเดียวกับดนตรีอุปรากร (Opera)และโซนาต้า (Sonata) โซนาต้าและซิมโฟนี่แห่งยุคคลาสสิก    


โซนาต้าในยุคนี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้มีความหมายแตกต่างออกไปจากศตวรรษที่แล้ว โดยหมายถึงการบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวหรือสองชิ้น เช่น Sonata for Violin หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน Piano Sonata หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวเปียโน หรือ Sonata for String Quartet หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น เป็นต้น แต่โครงสร้างของบทเพลงโซนาต้าหรือ นั้นเป็นแบบอย่างเดียวกับบทเพลงซิมโฟนี่ดังนี้คือ บทเพลงซิมโฟนี่ประกอบด้วย 4 ท่อนหรือ Movement แต่บางครั้งอาจมีความยาวกว่า 4 ท่อนก็ได้    โดยทั่วไปนั้น ท่อนที่ 1(First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด อาจมีลีลาที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนา ธีม (Theme) หรือเนื้อหาหลักของเพลงจากท่อนแรก ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอ็ท (Minuet) ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็จะเป็นลีลาที่ผันแปรมาจากท่วงทำนองหลักหรือ ธีม ของเพลงเป็นต้น ซิมโฟนีเป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความไพเราะและยิ่งใหญ่ สามารถใช้ทดสอบความสามารถและความคิดริเริ่มของคีตกวีแต่ละท่านได้เป็นอย่างดี ดนตรีแห่งยุคคลาสสิกมีความรุ่งเรืองสูงส่ง ซึ่งเราจะสังเกตได้จากวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้นและวาทยกร (Conductor) 1 คน การจัดจำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีขึ้นอยู่กับวาทยากรแต่ละท่าน วงซิมโฟนีได้ถือกำเนิดครั้งแรกในยุคคลาสสิกนี้เองและได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้  


 >>>>> ยุคโรแมนติก (Romantic)ค.ศ.1820-1900 พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ การใช้ความดังความเบาที่ชัดเจน และทำนอง จังหวะ ลีลาที่เน้นไปยังอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโทเฟิน ชูเบิร์ต โชแปง วากเนอร์ บราห์มส์ ไชคอฟสกี้ เป็นต้น   ดนตรียุคโรแมนติกมีลักษณะของแนวทำนองที่เต็มไปด้วยการบรรยายความรู้สึก มีแนวทำนองเด่นชัด ลักษณะการแบ่งวรรคตอนเพลงไม่ตายตัว การประสานเสียงได้พัฒนาต่อจากยุคคลาสสิกทำให้เกิดการคิดคอร์ดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อใช้แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก มีการนำคอร์ดที่เสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น มีการใช้โน้ตนอกคอร์ด บันไดเสียงที่มีโน้ตครึ่งเสียง (Chromatic Scale) การเปลี่ยนบันไดเสียงหนึ่งไปอีกบันไดเสียงหนึ่งอย่างคาดไม่ถึง การประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) ยังคงเป็นลักษณะเด่นสืบเนื่องมาจากยุคคลาสสิก การใช้เสียงดัง-เบา มีตั้งแต่ ppp ไปจนถึง fff คีตลักษณ์ของเพลง (form) ยังคงเป็นแบบ Sonata Form แบบยุคคลาสสิก แต่มีความยืดหยุ่นของโครงสร้าง 


ในยุคนี้ดนตรีบรรเลง และบทเพลงสำหรับเปียโน เป็นที่นิยมประพันธ์กันมากขึ้น ลักษณะของวงออร์เคสตราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงจะกำหนด เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงสำหรับชาวบ้านเป็นที่นิยมประพันธ์กัน แต่เพลงโบสถ์ก็ยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นกัน ในลักษณะของเพลงแมส ที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธี และเพลงเรควีเอ็ม ที่ใช้ในพิธีศพ สำหรับบทเพลงโอเปร่า และเพลงร้องก็มีพัฒนาการควบคู่ไป เนื้อร้องมีตั้งแต่การล้อการเมือง ความรักกระจุ๋มกระจิ๋ม ไปจนถึงเรื่องโศกนาฎกรรม   


>>>>> ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism)ค.ศ.1900-2000 พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2453) 
พัฒนารูปแบบของดนตรีโดยนักดนตรีชาวฝรั่งเศส โดยมีเดอบุชซีเป็นผู้นำ ลักษณะดนตรีของยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เต็มไปด้วยจินตนาการ อารมณ์ที่เพ้อฝัน ประทับใจ ต่างไปจากดนตรีสมัยโรแมนติกที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ 


 >>>>> ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน (20th Century Music พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน) 
นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น  
 -------------------------------------- 


 รายชื่อคีตกวีแบ่งตามยุค   
 >>>>> ยุคกลาง    
เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1130-1180)  
เพโรแตง (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220) 
จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
 ฟรานเชสโก ลานดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397) 
กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377) 
ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry) 
โซลาช (Solage) 
เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze) 

 >>>>> ยุคเรเนสซองส์ 
จอห์น ดันสเตเบิล (John Dunstable) 
กิโยม ดูเฟย์ (Guillaume Dufay) 
โยฮันเนส โอคีกัม (Johannes Ockeghem) 
โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis) 
จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez) 
ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht) 
โคลด เลอเชิน (Claude Le Jeune) 
จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina) 
วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd) 
คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi) 
ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso) 
คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo) 
อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert)  

>>>>> ยุคบาโรค 
ดิทริช บุกสเตฮูเด (Dietrigh Buxtehude, ประมาณค.ศ. 1637-1707) 
โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel, ค.ศ. 1653-1706) 
อเลสซานโด สการ์แลตตี (Alessando Scarlatti, ค.ศ. 1660-1725) 
อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi, ค.ศ. 1678-1714) 
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach, ค.ศ. 1685-1750) 
จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล (Georg Friedrich Händel, ค.ศ. 1685-1759) 
ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully) 
ฌอง ฟิลลิป ราโม (Jean Phillippe Rameau) 
เกออร์ก ฟิลลิป เทเลมันน์ (Georg Phillip Telemann) 
เฮ็นรี่ เพอร์เซ็ล (Henry Purcell) 

 >>>>> ยุคคลาสสิก  
คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck, ค.ศ. 1750-1820) 
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn, ค.ศ. 1732-1809) 
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, ค.ศ. 1756-1791) 
ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, ค.ศ. 1770-1827)
คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอ็ล บาค (Carl Phillip Emanuel Bach) 
โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach) 

 >>>>> ยุคโรแมนติก   
 ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) 
เอกเตอร์ แบร์ลิออส (Hector Berlioz) 
เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Felix Mendelssohn-Batholdy) 
เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frédéric François Chopin) 
นิกโคโล ปากานินี (Niccolò Paganini) 
โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) 
ฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) 
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) 
จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi) 
แบดริช สเมตานา (Bedrich Smetana) 
โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms) 
จอร์จ บิเซต์ (Georges Bizet) 
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky)
 แอนโทนิน ดโวชาค (Antonín Dvořák) 
จิอาโคโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) 
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler)
 เซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ (Sergej Vasilevič Rakhmaninov) 
ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) 
ยาน ซิเบลิอุส (Jean Sibelius) 
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง บิดา (Johann Strauss father) 
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง บุตร (Johann Strauss son) 
ชาก ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach) 
ชาร์ล กูโน (Charles Gounod) 
อันโตน บรูคเนอร์ (Anton Bruckner) 
ฮูโก โวล์ฟ (Hugo Wolf) 

 >>>>> ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ 
โคล้ด เดอบุซซี (Claude Debussy) 
มอริส ราเวล (Maurice Ravel) 

 >>>>> ยุคศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน 
 ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives) 
อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg) 
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) 
เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók) 
โซลตาน โคดาย (Zaltán Kodály) 
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) 
อันโตน เวเบิร์น (Anton Webern) 
อัลบัน เบิร์ก (Alban Berg) 
เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev) 
พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith) 
จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin) 
อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, ค.ศ. 1900-1990) 
ดิมิทรี ดิมิทรีวิช ชอสตาโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich, ค.ศ. 1906-1975) 
โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen, ค.ศ. 1908-1992) 
เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter, ค.ศ. 1908-ปัจจุบัน) 
วิโทลด์ ลูโทสลาฟสกี้ (Witold Lutoslawski) 
จอห์น เคจ (John Cage, ค.ศ. 1912-1992) 
ปิแอร์ บูเลซ (Pierre Boulez, ค.ศ. 1925-ปัจจุบัน) 
ลูเซียโน เบริโย (Luciano Berio, ค.ศ. 1925-2003) 
คาร์ลไฮน์ สต็อกเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen, ค.ศ. 1928-2006) 
ฟิลิป กลาส (Philip Glass) ลุยจิ โนโน (Luigi Nono) 
ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis, ค.ศ. 1922-2001) 
มิลตัน แบ็บบิท (Milton Babbitt) 
วอล์ฟกัง รีห์ม (Wolfgang Rihm) 
อาร์โว แพรท (Arvo Pärt) 
โซเฟีย กุไบดูลินา (Sofia Gubaidulina) 
Giya Kancheli ยอร์กี ลิเกตี (György Ligeti) 
กชึชตอฟ แปนแดแรตสกี (Krzysztof Penderecki) 
ยอร์กี เคอร์ทัค (György Kurtag) 
เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann) 
สตีฟ ไรค์ (Steve Reich) 
จอห์น อดัมส์ (John Adams) 
John Zorn 
โตรุ ทาเคมิตสึ (Toru Takemitsu) 
Tan Dun Chen Yi Unsuk Chin   


 *** แบ่งตามโครงสร้างบทเพลง (Form) 
คอนแชร์โต - Concerto 
ซิมโฟนี - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia] 
โซนาต้า - Sonata 
ฟิวก์ - Fugue เป็นการประพันธ์เพลงที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากแขนงหนึ่ง นิยมในยุคบาโรก จะเริ่มต้นด้วยทำนองที่เรียกว่า Subject จากนั้นจะเปลี่ยนแปลงทำนอง เรียกว่า Answer 
พรีลูด - Prelude บทเพลงที่ทำหน้าที่เป็นบทนำทางดนตรี มักใช้คู่กันกับเพลงแบบฟิวก์ หรือใช้บรรเลงนำเพลงชุดสวีต 
โอเวอร์เจอร์ - Overture เพลงโหมโรงที่บรรเลงก่อนการแสดงอุปรากรหรือละคร 
บัลลาด - Ballade เป็นบทประพันธ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เป็นเพลงชับร้องที่กำกับด้วยเปียโน 
เอทู๊ด - Etude เป็นบทประพันธ์เพื่อฝึกหัดการบรรเลงด้วยเปียโนหรือไวโอลิน 
มาร์ช - March เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการเดินขบวนแถวของหมู่คน 
วาริเอชั่น - Variation 
แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy] 
น็อคเทิร์น - Nocturne/Nocturno เป็นเพลงที่บรรเลงยามค่ำคืน มีทำนองเยือกเย็นอ่อนหวาน ส่วนมากใช้เปียโนบรรเลง 
มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet] 
เซเรเนด - Serenade เพลงขับร้อง หรือบรรเลงเครื่องดนตรี ที่มีทำนองเยือกเย็นและอ่อนหวาน มักเป็นบทเพลงที่ผู้ชายนำมาเกี้ยวพาราสีผู้หญิง โดยยืนร้องใต้หน้าต่างในยามค่ำคืน 
แคนนอน - Canon เป็นคีตลักษณ์ที่มีแบบแผนแน่นอน มีการบรรเลง ทำนองและการขับร้องที่เหมือนกันทุกประการ แต่เริ่มบรรเลงไม่พร้อมกัน เรียกอีกชื่อว่า Round 
แคนแคน - Can-Can เป็นเพลงเต้นรำสไตล์ไนท์คลับของประเทศฝรั่งเศส เกิดในช่วงศตวรรษที่ 19 
คาปริโซ - Caprice บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา 
โพลก้า - Polka เพลงเต้นรำแบบหนึ่ง มีกำเนิดมาจากชนชาติโบฮีเมียน 
ตารันเตลลา - Tarantella การเต้นรำแบบอิตาเลียน มีจังหวะที่เร็ว 
จิก - Gigue เป็นเพลงเต้นรำของอิตาลี เกิดในศตวรรษที่ 18 มักอยู่ท้ายบทของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
กาวอท - Gavotte เป็นเพลงเต้นรำของฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 มีรูปแบบแบบสองตอน (Two-parts) มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
โพโลเนส - Polonaise เป็นเพลงเต้นรำประจำชาติโปแลนด์ เกิดในราชสำนัก เป็นเพลงประเภทวอลท์ซ มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite) 
สวีต - Suite เพลงชุดที่นำบทเพลงที่มีจังหวะเต้นรำมาบรรเลงต่อกันหลายๆ เพลง พบมากในโอเปร่า และบัลเลต์ 
อาราเบส - Arabesque เป็นดนตรีที่มีลีลาแบบอาหรับ 
ฮิวเมอเรสค์ - Humoresque เป็นบทประพันธ์สั้นๆ มีลีลาสนุกสนานร่าเริง อย่างมีชีวิตชีวา 
ทอคคาต้า - Toccata บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว อิสระ ในแบบฉบับของเคาน์เตอร์พอยด์ 
บากาเตล - Bagatelle เป็นคีตนิพนธ์ชิ้นเล็กๆ สำหรับให้เปียโนบรรเลง มีจุดเด่นคือทำนองจำได้ง่าย เช่นเพลง Fur Elise 
ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento 
บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music 
โมเต็ต - Motet เพลงที่ใช้ขับร้องในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ใช้วงขับร้องประสานเสียงในการร้องหมู่ ภายหลังจึงเริ่มมีเครื่องดนตรีคลอเสียงร้อง 
แพสชั่น - Passion เพลงสวดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู 
ออราทอริโอ - Oratorio เพลงประเภทขับร้อง บทร้องเป็นเรื่องราวขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ มีลักษณะคล้ายโอเปร่า แต่ไม่มีการแต่งกาย ไม่มีฉากและการแสดงประกอบ 
คันตาตา - Cantata เพลงสำหรับศาสนาสั้นๆ มีทั้งร้องในโบสถ์ และร้องตามบ้าน 
แมส - Mass เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อประกอบในศาสนพิธีของศาสนาคริสต์ 
เรควีเอ็ม - Requiem เพลงสวดเกี่ยวกับความตาย
 ===================== 
เครดิตบทความ : ครูมด เมโลดี้ เฮาส์ 
 http://lapoy.blogspot.com