วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"สูงสุดคืนสู่สามัญ" : การใช้กฎเพื่อแหกกฏ ก้าวสู่ศาสตร์สูงสุดที่เรียกว่าการ ใช้สมองเล่นดนตรี


 วันก่อนที่ตึกสังคม มีนักเรียนคนนึงถามถึงคอร์ดแจ๊สเป็นเยี่ยงไร
นั่นสินะ ก็คอร์ดประกอบด้วย 3 เสียง แล้ว เสียงที่ 4 มันคืออะไรล่ะหนอ !??

 

 

มารู้จักกับการสร้างคอร์ดขั้นสูง
"เป็นการใช้กฎ เพื่อ แหกกฏ"
 
เฉกเช่นเพลงแจ๊ส : เพลงที่ต้อง ใช้สมองเล่นดนตรี... ยิ่งคิดยาก-ยิ่งเล่นง่าย คล้ายๆกับที่พูดกันว่า
"สูงสุด คืนสู่ สามัญ"

 

Forth-chords (Let's Jazz!)


4th Chords และ ก็คอร์ด ที่มีเลขเยอะๆ

จากที่เรา รู้มาแล้ว ว่า ไทรแอด (Tried)เป็นคอร์ดที่มี 3 เสียง

ดังนั้นนักประพันธ์ เพลง จึงไม่หยุดความคิดไว้แค่ ขั้นคู่ ทั้ง 3 เสียงนั้น จึงคิดค้น ขั้นคู่ที่ฟังแล้ว ไพเราะเพิ่มขึ้น หรือ บางทีต้องการเสียง ที่ แปลกแตกต่าง จาก เสียงรสชาติ เดิมๆ จึงเกิด คอร์ด ที่มี 4 เสียงขึ้น และ ก็5 เสียง และก็มากกว่านั้นโดยส่วนมากแล้วจะเพิ่ม จากคอร์ด tried โดยการ เพิ่มขั้นคู่ 3 ทั้ง Consonant และ Dissonant
แต่ก็คนคิดใช้คอร์ดพวกนี้ ต้องมีหลักการที่จะใช้ด้วยนะ เดี๋ยวอีกหน่อยเราค่อยมาพูดกัน ตอนนี้ เอา คอร์ด ไปจำก่อนนะ

Maj7 (เมเจอร์เซเว่น) เป็นคอร์ด 4 เสียง ประกอบด้วย โน้ต ในลำดับ 1 3 5 7 ของสเกลเมเจอร์ เช่นคอร์ด Cmaj7 มีโน้ต C E G B นะจ๊ะ

Dominant 7 (ดอมินันท์เซเว่น) เป็นคอร์ด 4 เสียง ประกอบด้วย โน้ต ในลำดับ 1 3 5 b7 ของ สเกล เมเจอร์ ถ้าสังเกตุดีๆนะ dominant คือ โน้ตในลำดับที่ 5 ของบันได เสียง ถ้ายังจำกันได้ ใน บทแรกๆ ที่เขียนไว้ ดังนั้น dominant 7 คือ คอร์ด ในลำดับที่ 5 ของสเกล แล้ว เพิ่มโน้ต ตัวที่ 7 เข้าไป จ้า เช่น C7 ประกอบด้วยโน้ต C E G Bb ไงจ้า แล้ว คอร์ด C7 ชนิดนี้ ปกติแล้ว ไม่ ได้อยู่ ใน บันไดเสียง c Major ซึ่ง บันไดเสียง C Major ไม่มีโน้ต Bb แต่ C7 มันอยู่ใน บันไดเสียง F Major ซึ่งเป็น โน้ตในลำดับที่ 5 ของ สเกล หรือ โน้ตในลำดับ Dominant จ้า (- -)

ต่อไปคอร์ด

minor 7 (ไมเนอร์เซเว่น)จ้า ประกอบด้วย โน้ตลำดับที่ 1 b3 5 b7 ของบันไดเสียงเสียงเมเจอร์ หรือ ถ้าคิดในบันไดเสียงไมเนอร์ ก็ประกอบด้วย โน้ต 1 3 5 7 จ้า เช่น Cm7 ประกอบด้วยโน้ต C Eb G Bb

minormajor7 (ไมเนอร์เมเจอร์เซเว่น) ประกอบด้วยโน้ต 1 b3 5 7 ของบันไดเสียง เมเจอร์ เช่น Cmmaj7 ประกอบด้วยโน้ต C Eb G B

เฮ่อ จะอ๊วก ... ขอพักหายใจก่อง *-*
********************************************************************

Dim7 (ดิมินิชเซเว่น)ประกอบด้วยโน้ต 1 b3 b5 b7 ของบันไดเสียง เมเจอร์ เช่น Bdim7 ประกอบด้วยโน้ต B D F A

Dim7* (ดิมินิชเซเว่น*)อันนี้ถ้าคนเคยเรียน ทฤษฏี การประสานเสียงในรูปแบบ Classic หรือ Baroge จะเข้าใจง่ายหน่อยนะจ๊ะ
คือเป็นคอร์ดที่ ทำมาจาก บันไดเสียง harmonic minor ซึ่งจะทำให้คอร์ด dim7 ในลำดับที่ 7 ของบันไดเสียง มีลักษณะ ดังนี้ 1 b3 b5 bb7 เช่น Bdim7 ในบันไดเสียง C Harmonic Minor ประกอบด้วยโน้ต B D F Ab ค่ะ

Aug7 (ออกเมนเต็ดเซเว่น)ประกอบด้วยโน้ต 1 3 #5 7 เช่น CAug7 ประกอบด้วย C E G# B
*********************************************************

ต่อไปเป็นตัวอย่างคอร์ดที่มี 5 เสียงขึ้นไป
อย่างที่เคยบอกในตอนแรกว่า นิยมเพิ่ม โน้ตเป้นขั้นคู่ที่ 3 ไปเรื่อยๆ
เช่น คอร์ด Maj9 (เมเจอร์ไนน์)เป็นคอร์ด 5 เสียง ประกอบไปด้วยโน้ตในลำดับที่ 1 3 5 7 9 ของบันไดเสียง
เมเจอร์ เช่น CMaj9 ประกอบด้วย C E G B D 

คอร์ด dominant9 (ดอมิแนนท์ไนน์) เป็นคอร์ด 5 เสียง ประกอบด้วยโน้ต ในลำดับที่ 1 3 5 b7 9 ของบันไดเสียง
เมเจอร์ เช่น C9 ประกอบด้วย C E G Bb D

บางคนเริ่ม อ๋อ แล้ว ใช่ม๊าล่า ^___^ ให้ลองหาเพิ่มกับ คอร์ด minor Dimminish และ Augmented ดูน๊า


ส่วนคอร์ดที่ไม่ได้อยู่ใน รูปแบบ ในการเพิ่มเสียง ทีละคู่ 3 ก็มีเช่น

คอร์ด Sus2 คือ คอร์ดที่ตัดโน้ตตัวที่ 3 ออก แล้วเพิ่มตัวที่ 2 เข้าไป ได้แก่ 1 5 2 เช่น Csus2 คือ C G D

คอร์ด Sus4 คือ คอร์ดที่ตัดโน้ตตัวที่ 3 ออก แล้วเพิ่มตัวที่ 4 เข้าไป ได้แก่ 1 5 4 เช่น Csus2 คือ C G F

คอร์ด Add2 คือ คอร์ดที่เพิ่มตัวที่ 2 เข้าไป ได้แก่ 1 3 5 2 เช่น Cadd2 คือ C E G D

คอร์ด Add4 คือ คอร์ดที่เพิ่มตัวที่ 4 เข้าไปได้แก่ 1 3 5 4 เช่น Cadd4 คือ C E G F

วันนี้ขอยกตัวอย่างแค่นี้นะจ๊ะ ถ้าทำความเข้าใจ แล้วเราจะสามารถ สร้าง คอร์ดได้เองนะ! บายจ้า

DoReMi!! Do you know Harmony? 2 melodies walk together & play among the notes. That's beautiful. I'll tell you some of basic theory na.

เรื่องของ ขั้นคู่เสียง (Intervals) ^^


Intervals หรือ ขั้นคู่เสียง

จะเปรียบเทียบง่ายๆกับบันไดเสียง Major (ที่เขียนไว้ในคราวที่แล้วอะ)

ยกตัวอย่างขั้นคู่ใน สเกล C Major นะ
คู่ 1 ได้แก่ C,C มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ Unison

คู่ 2 ได้แก่ C,D มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 2 Major

คู่ 3 ได้แก่ C,E มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 3 Major

คู่ 4 ได้แก่ C,F มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 4 Perfect

คู่ 5 ได้แก่ C,G มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 5 Perfect

คู่ 6 ได้แก่ C,A มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 6 Major

คู่ 7 ได้แก่ C,B มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 7 Major

คู่ 8 ได้แก่ C,C' มีชื่อเรียกด้วยนะ^^ เรียกว่าคู่ 8 Perfect

สงสัยใช่มะ? แล้ว ไอ้ขั้นคู่ Minor,Diminished,Augmented หายไปไหน

เรียงในรูปแบบบันได้เสียง Major มีวิธีง่ายๆอีก ใช้สูตรต่อไปนี้จร้า


นิยามศัพท์ก่อนนะ

M = ขั้นคู่ Major

m = ขั้นคู่ Minor

Dim = ขั้นคู่ Diminished

Aug = ขั้นคู่ Augmented

p = ขั้นคู่ Perfect

< = ลดลงครึ่งเสียง

> = สูงขึ้นครึ่งเสียง


++++++++สูตร ++++++++


Dim < m < M > Aug , Dim < P > Aug

ตัวอย่างเช่น

คู่ 3 Minor คือ C,Eb G,Bb

คู่ 7 Minor คือ C,Bb G,F

คู่ 4 Dim คือ C,E(Fb) G,B(Cb)

คู่ 5 Aug คือ C,G# G,D#

พอแระยกตัวอย่างแค่นี้พอหาต่อเอาเอง



ต่อละนะ

Intervals นั้น จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1 Consonant Intervals (ขั้นคู่เสียงที่กลมกลืน)
2 Dissonant Intervals (ขั้นคู่เสียงที่ไม่กลมกลืน)
ขั้นคู่เสียงที่กลมกลืน Consonant Intervals จะเป็นขั้นคู่เสียงที่ฟังแล้วระรื่นหู มีความกลมกล่อม

ส่วน Dissonant Intervals นั้นเป็นขั้นคู่ที่ฟังแล้วขัดๆหู บางทีจาใช้ในการแต่งเพื่อให้มีสีสันมากขึ้นอ่า

ง่วงแระอ่า คราวหน้าจะมาบอกว่าขั้นคู่ไหนบ้างที่เป็น Consonant หรือ Dissonant 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาค 2 





พูดต่อเรื่อง Consonant Interval กับ Dissonant Interval นะจ๊ะ

Consonant Interval (ขั้นคู่ที่กลมกลืน)
ได้แก่ คู่ 1 P,คู่ 3 M และ 3 m,คู่ 5 P,คู่ 6 Mและ 6 m,และคู่ 8 P

Dissonant Interval (ขั้นคู่ที่ฟังแล้วขัดๆไม่ระรื่น)
ได้แก่ ขั้นคู่ที่เป็น Dim และ Aug ทั้งหมด รวมถึงคู่ 4 P,คู่ 2 Mและ 2 m,คู่ 7 M และคู่ 7 m อีกด้วยนะจ๊ะ

ดังนั้นถ้าเราจะเลือกใช้ขุ้นคู่เสียงในการประพันธ์เพลง โดยปกติแล้วนิยมใช้ขั้นคู่ ที่เป็น Consonant นะจ๊ะ

ส่วน ขั้นคู่ Dissonant ปัจจุบันก็นิยมใช้อย่างแพร่หลายในบทเพลงที่เน้นแสดงออกถึงความรู้สึกแปลกๆ หรือขัดๆ เช่น ซาวแทรก ประกอบหนัง สยองขวัญ หรือบทเพลงในรูปแบบ Jazz และ Metal โหดๆ หุหุ


ต่อไปจะมาพูดถึงเรื่องพื้นฐานของคอร์ด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ Interval (ขั้นคู่) อย่างแน่นแฟ้น  

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Vocalize Lesson : ฝึกร้องเพลงกับครูปอย และ การดูแลเส้นเสียง


Vocalize : Voice Class
บทความนี้ ครูปอยขอนำเสนอ ในเรื่องของ "Voice"  สำหรับผู้ที่รักในการร้องเพลง
อันที่จริงเคยโพสไว้ในเวปบอร์ดดนตรี 
ขอหยิบยกมาบอกเล่าเก้าสิบให้นักเรียน
ได้ศึกษาดูนะคะ  


เพื่อที่จะเป็นนักร้องที่มีคุณภาพเสียงที่ดีนั้น ต้องผานการฝึกฝนและการใช้ทักษะให้ถูกวิธีค่ะ


การเป็นนักร้อง พื้นฐานแรกเลยก็คือ หายใจเข้ากระบังลม และเอา ลมออกจากกระบังลมตอนเปล่งเสียง กระบังลม อยู่ไหนล่ะคะ? ลองเอามือ ท้าวสะเอว แต่สูงขึ้นมานิดนึง ตรงใต้ ซี่โครง บนท้องน้อย (แถวๆ ลิ้นปี่)
 เริ่มหายใจเข้าช้าๆ ท้อง หรือ กระบังลม ต้อง ขยายออก (โดยส่วนใหญ่ หลายคน หายใจเข้า ปอดพองโต แต่ท้องแฟบ แบบนี้ ใช้ในการร้องเพลงมะได้ )
 หายใจออกช้าๆ ดันลม จากระบังลมออกมาทางปาก จดหมดเลย


** หมายเหตุ : การหายใจเข้า กระบังลม ตามหลัก ลมบางส่วนก็เข้าปอดด้วย ไม่ผิดค่ะ ** แต่เก็บลมไว้ในกระบัง จะ มีประสิทธิภาพกว่า เก็บลมไว้ในปอดอย่างแน่นอน คอนเฟิม 


ทีนี้ เวลาฝึกลมใช่มั้ยคะ ถ้าหายใจได้แล้ว ตื่นเช้ามา ฝึกหายใจไปด้วยเลย หายใจเข้า กระบัง แล้วใช้วิธีการ พ่นลมออกทางไรฟัน คือ พูด ตัว เหมือนกับเราจาพูด ส. เสือ พ่นมาให้หมดเลย แต่ต้องพ่น ออกมาให้ ชัดๆ ดังๆไปเลยนะคะ (มะต้องดังมากขนาด ข้างบ้าน นึกว่า แก๊ซรั่วนะ ^^') แรกๆ อาจจะเหนื่อย แต่หลังๆ จะทำได้ยาว และ นานขึ้น เท่ากับเรา เก็บลมได้เยอะขึ้น กระบังลม ขยายได้ดีขึ้น ช่วยให้ เวลาร้องเพลงสบายขึ้น ไม่เหนื่อย (แต่ไม่ได้ช่วยในเรื่องของเสียงนะคะ ไว้เสียง ค่อยว่ากันต่อไป) แนะนำว่า ทำสม่ำเสมอ วันละ 10 - 15 นาที หรือ ค่อยๆ เพิ่มเวลาฝึกไปเรื่อยๆ แล้วแต่เวลาว่ามีมากน้อยแค่ไหน
นี่คือ วิธีการ ที่จะเริ่มฝึก ลม โดยเฉพาะ เวลา ตื่นเช้า ที่เสียงยังไม่คงที่หรือเสียงยังไม่มา ฝึกลมไปก่อนแล้ว ค่อยเริ่ม เปล่งเสียงต่อไป...


ปล. ระวังหน้ามืดนะคะ แรกๆ อาจจะมีการหน้ามืดกันบ้าง ^^' 
*****************************************


Break 2

เวลาร้องเพลง ก็เหมือนกับ การหายใจเข้ากระบังลม และหายใจออกมา ทางปาก แต่ + เสียงที่เปล่งออกมาด้วย ทีนี้ เราต้อง คอนโทรลร่างกายเพิ่ม ทั้ง จุด คือ ลม และ เสียง (ระวังว่า เวลาร้องเพลง ให้ปล่อยลม ออกมาให้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายด้วยนะคะ ลมบางส่วนจะออกทางจมูกด้วย มะใช่ว่า กลั้นหายใจ เอาออกมาทางปากหมด ตายพอดีเด้อ)
การฝึก เสียงก็มีหลายอย่าง / ฝึก Length เสียง / ไวบราโต้ (สั่น) / อักระ ความชัดเจน / โน๊ต - คีย์ / เอียเทรนนิ่ง 9ไว้ สงสัยอาไร ลองถามมาได้นะคะ ครูปอยมะได้เก่งอะไรมากมายหรอก แต่ ที่รู้มา ก็จะบอกเล่า 90 กันไป
ถ้า นักเรียน มี เปียโน หรือ คีย์บอร์ด ก็จะช่วย ในการฝึกร้อง ได้มาก
แต่อย่างไรก็ตามนะคะ เวลาร้องเพลง แนะนำอย่าไปคิดถึง ทฤษฎีอะไรมากมายล่ะ เด๋วจะไม่ได้ฟิวกันพอดี คิดว่า ร้องยังงัยแล้วรู้สึกดีที่สุด สบายที่สุด performance บนเวที ให้ดูดี ดูเท่เข้าไว้ (แต่อย่าเก๊กเกินไปล่ะ) อารมณ์ให้ได้กับเพลง แค่นี้ ก็ดูดีไปกว่าครึ่งแล้ว แล้วค่อยๆ ฝึกทักษะใหด้ดีขึ้นต่อไป ...
อะ จบ พาร์ธ แรก มีคำถามมั้ยคะ ตอบได้จาตอบให้น๊อ ตอบมะได้ เด๋วพา ผู้รู้มาตอบ มีเยอะ 5555 


Break 3 

สรุปจากที่โพสไปมะกี๊
เสียงสั่น = ลมมะพอ ถ้าดันลมที่ออกจาก กระบัง ชัดๆ เสียงจะเต็มเม็ด ครูปอยก็กะลังมีปังหาอยู่ ครือว่า เลิกร้องเพลงไป 4 ปี กลับมาร้องอีกที ร้องมะได้ อยากร้องไห้ T______T กะลังแก้อยู่ค่ะ แต่มะค่อยมีเวลาฝึกทะไหร่ ส่วนการร้องโวยวาย แบบ เดท เมททัล ดิชั้นไม่ถนัด แต่รู้แต่ว่า ใช้คอ มากกว่าร้องปกติ แต่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเสียงดังเท่าไหร่ แหกปากมากไป เส้นเสียงเสียได้เช่นกัน แต่ร้องแบบนี้ เสียงแตกที่ดี ต้องฟังออกมาเป็นเสียงที่แตก ละเอียด (อันนี้ได้ยินเค้ามา เนียนอีกที) ส่วน โวยวาย แบบ ร๊อคเกอร์ ทั่วไป ส่วนใหญ่ ก็ใช้เสียงแบบเต็มเม็ด ร้องเต็มเสียง ฝึก Length เสียง เยอะๆ สูงสุด ต่ำสุด - แต่เพลงปัจจุบัน นิยมการหลบเสียงมาใช้ เป็นเสน่ห์อย่างนึง ถือเปงเทคนิคในอารมณ์เพลง น่าฟังดีเหมือนกัน
 

****************************************************************


Break 4

วันนี้ มี บทฝึก Vocalize มาให้เก็บไว้ หลังจากที่เราได้ วอร์ม ลม กันไปแล้ว กับ เสียง S 5-10 นาที ตอนนี้ จะมาเริ่มออกเสียงกัน ล่ะนะ
เริ่มจาก เสียง "อา" ลากเสียง อา ยาวๆ ดูซิคะ เอาระดับเสียงที่สบายที่สุด หรือจะเริ่มจากระดับเสียง โด ก็ ด๊ะ (มีคีย์บอร์ด ก็ กด เทียบเสียงดู)
ที่นี้เราจะรู้ แระ ว่า ความสามารถในการเปล่งเสียงเรา ดีขนาดไหน ฮั่นแน่ เสียง แกว่งๆ สั่นใช่ ช่ายม๊า สำหรับคนที่ ไม่ค่อยมีทักสะหรือ ไม่ค่อยได้ฝึกความชำนาญในการ ร้อง เท่าไหร่ เสียง อา ของเรา อาจดูไม่ดี

1. อาจจะรู้สึกว่า ร้องแล้วไม่สบาย ปวดคอ (เนื่องจากเราอาจจะพยายามใช้คอร้องมากเกินไปโดยไม่ได้ใช้ลมจิงๆ จากท้องออกมา)

2. รู้สึกเสียงสั่น ลมและความดังไม่สม่ำเสมอ (เปงปัญหาของคนที่มะค่อยได้ฝึกพลังลมปรานน่ะแหล่ะ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดันลมออกมาจากกระบังลม อย่างมั่นใจ เปล่งเสียงเต็มๆอย่างชัดเจน ใช้ลมจากท้องจิงๆ ... ลองดู ดีขึ้นมั้ย น่าจะร้องง่ายขึ้นมาอีกนิด แต่ก็อย่างว่า แรกๆอาจขัดจากความรู้สึกนะคะ แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ จนเราทำโดยอัตโนมัติล่ะก็ อีกหน่อยร้องเพลงจะไม่ได้กังวลกับการหายใจการใช้ลมมากเท่าไหร่ ก็จะกลายเปงธรรมชาติไปเอง)

3. เสียงแกว่งล่ะเซ่ (พยายามคอนโทรล เสียงให้ดี ให้เป็นเส้นตรง อย่าให้เสียง มี ชาร์ป หรือ แฟลต เป็นพักๆ ... คอนโทรลให้นิ่งๆ อย่าให้ระดับเสียง สูงๆ ต่ำๆ ฝึกปล่อยเสียงหลายๆรอบ จน มัน คอนโทรลได้ง่ายขึ้น)

4. เสียงบี้ๆแบนๆ หรือ ฟัง ไร้ซึ่งพลัง มั้ยคะ (เปิดคอให้กว้าง แต่ไม่ใช่เงยคอขึ้นนะ เสียบุคลิกศิลปินดังหมด คริคริ ลองร้องออกมาแล้วค่อยๆกดลิ้นลงต่ำหน่อย... ต่ำลง.... ต่ำลง ... ไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหล่ะๆ .. อ๊ะ ๆ !!! ต่ำไปรึเปล่าคะ เสียง Fake ไปแล้วนะระวังเสียงเหมือน หมูกะลังร้องขอความช่วยเหลือตอนโดนบีบคอนะ ^^' ต่ำพอให้ไม่ฝืนธรรมชาติ ปลายลิ้น แตะหลังฟันนู่น มะต้องเอาออกมาไว้บนฟัน
ตอนนี้ เสียง "อา" เริ่มใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้นแล้วใช่มั้ยล่ะ นั่นแหล่ะ เวลาร้อง ให้นึกถึงอะไร กลมๆ นิดนึ
เสียงอาของเรา จะมีกลิ่น คำว่า "ออ" ร้อง อา แต่คิดถึงว่าตัว ออ อยู่ หรือทำเป็น เหมือนกับว่า เราเกือบร้อง อา ปน ออ นิดๆ แหล่ะ มันจะทำให้เสียงกลมขึ้น
ครูปอยว่า ทำเสียงกลมๆหน่อย เวลาร้องเสียง สูง มันดู สวยกว่านะคะ ข้อ มันดูมีพลังกว่า ข้อ เหมือนเราไม่ต้องพยายามบีบเสียงให้สูงมาก ข้อ คอเปิดกว้าง ลมออกมาได้เยอะขึ้น ข้อ เสียงสูงสังเกตุ ยิ่งสูงจะยิ่งบี้แบน แผดเผา บางคนดังด้วยบี้ด้วย ถึงขั้นทุเรศ เหมือนโดนบีบไข่ เคยมั้ยจ๊ะ 555 อะ ลองทำเสียงกลม ขึ้น ถึงดัง แต่ดูสวยกว่า และ มีพลังกว่า ลองดูๆ ค่ะ)

5. ลมหมดไว (อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเก็บลมเรามีมากแค่ไหน แล้วใช้ได้ถูกต้องรึเปล่า ฝึกลมบ่อยๆ ก็จะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆนะ ถ้าไม่ขี้เกียจซะก่อน ต้องทำแบบเสมอต้นเสมอปลายด้วยแหล่ะ เหมือนเราออกกำลังกายหรือเล่นกล้ามน่ะแหล่ะค่ะ ทำๆหยุดๆ มันก็ไม่ได้ผล กล้ามมะขึ้นแน่นอน ต้องทำสม่ำเสมอไประยะนึง จนกล้ามเนื้อมันอยู่ตัว ขนาดนักกล้ามที่อยู่ตัวแล้ว ถ้าหยุดไปนานๆมากๆ กล้ามเนื้อก็ยังหายไปและกลับมาเปงไขมันแทนที่ได้เลย ร้องเพลง หรือ ทักษะอื่นๆก็เหมือนกันนะจ๊ะ Skill ทุกอย่างพัฒนาได้จากการฝึกฝนทั้งนั้น 80% อีก 19% พรสวรรค์ อีก 1% มีใจรัก) สู้ๆค่ะ เรามาสู้ด้วยกัน 555

ปล. เสียง อา เสียง ไม่ใช่ไม่สำคัญ เด้อ บางคน คง คิดว่า ให้ชั้น ออก แค่เสียงอา แล้ว ชั้น จะร้องเพลงได้ดีได้ยังงัย เพลงๆนึง มีต้องหลายเสียง อา จะมีในเพลง ซักกี่คำกัน อยากบอกว่า ถ้าคุณ ยัง ออกเสียง นี้เสียงเดียว ยังไม่ดี ก็อย่าหวังว่าจะร้องเสียงอื่นได้ดี เสียงอา เป็นเสียงที่ Simple และ ถูกปลดปล่อยมากที่สุด เป็นเสียงที่เปิดที่สุด ร้องให้ดีก่อน ก่อนที่จะไปร้องเสียงปิด ... ปิดหน้า ปิดหลัง อักขระอื่น มีตัวสะกดอีกตะหาก เง้อ ร้องเสียง อา ก่อน แล้ววิเคราะห์ดูว่า เรา อ่อนตรงไหน เปล่งเสียงออกมาแล้ว รู้สึกสบายรึยัง บกพร่องจุดไหน ปรับๆ แก้ๆ ให้ดี เมื่อดีแล้ว ก็จำว่า ร้องตัวอื่นก็ต้องให้ดีแบบนี้ ออกมาแนวๆนี้ นึกไม่ออกจะเขียนอะไรต่อค่ะ โพสไปก่อนละกัน เด๋ว ทำข้อความหาย 555 

เออ พึ่งรู้ว่า โพส ยาวมากไม่ได้ ต้อง ตัดเปง เรป -*- เอา หุหุ



*****************************************************

บทฝึก : หลังจาก "อา" ยาวๆ แล้ว ปรับแต่งการออกเสียงให้ดีแล้ว มาร้อง Vowels (วาวส์) กันก่อน เริ่มด้วย อักขระ เปิด อ อ่างนี่ล่ะ 

"
อา อี อู เอ โอ"
 มี เมโทรนอมมั้ยคะ ถ้ามี เอามากด นับจังหวะ เลย ถ้าไม่มี ก็คง กระดิกนิ้วเท้า นับจังหวะในใจเอา หรือให้ เพื่อน เคาะถังกละมังเปงเมโทรนอม ให้ ทามมิ่งอาจไม่เท่าใช่เมโทรนอม จิง ถ้านับเองล่ะก็ อย่าเบี้ยวอย่าเร่งจังหวะล่ะ ซื่อสัตย์ ต่อตัวเอง นะ แง่งๆๆๆ บทฝึก Set A : ตั้งชื่อเปงแบบนี้ละกันจะได้อ้างอิงได้ถูก เอิ๊กๆ 

"
อา อี อู เอ โอ" ไปทีละตัว ยาวๆ จนหมดลมหายใจ ค่อยๆปรับ ค่อยๆแก้ จนเปล่งออกมาดูดี ทำซ้ำ จนคิดว่า ชินแล้ว


1.
 อา อี อู เอ โอ ไปทีละตัว : ห้อง ดังนี้
 อา = 8 จังหวะ อี = จังหวะ อู = จังหวะ เอ = จังหวะ โอ จังหวะ

2.
 อา อี อู เอ โอ ไปทีละตัว : ห้อง ดังนี้
 ทำเหมือนข้อ แต่ลดลงเหลือ จังหวะ

3. 
ทำเหมือนข้างบน ลดเหลือ จังหวะ


4. 
ลดเหลือ ตัวละ จังหวะ (ข้อนี้ระวัง ทุกคำต้อง ดันลมออกมา คำต่อคำ มะใช่ ลักไก่ 
คำ ลมเดียว เด๋วมันจาเปง อา ยี ยู เว โย เด้อ ออกเสียงชัดๆ)
 


 
TIPS !



ร้องให้ดี ต้อง นึกถึง ความ กลมไว้นะคะ ทำเสียงกลมๆ ตำแหน่งลิ้นอย่าหลง (นึกไม่ออก ไปดูลิ้นพี่ป๊อบ แคลลอรี่ บลาๆ ในมิวสิควีดีโอ) คอเปิดกว้างๆ อย่าเกรงคอ อย่าเงยหรือก้ม ร้องให้ออกมา สบายๆ 

อา  = บอกไปแล้ว เรป ก่อนๆ 

อี   = เสียงนี้ กลมยากหน่อยเพราะโดยลักษณะ ตัวเค้า แบนอยู่แล้ว แต่ทำให้กลมโดยการเปิดคอและลิ้น น่ะแหล่ะ เหมือนกัน

อู  = ริมฝีปากอย่าแคบมาก (ปากอย่าจู๋มาก เอาแค่พองามให้เสียงมันออกมาได้เยอะๆ ธรรมชาติเสียงนี้ กลมอยู่แล้ว คอเปิดโดยธรรมชาติมากกว่า เสียงแรก แต่ทำให้เสียงมันก้องกระพุ้งแก้มอีกนิด ก็จะมี เป็น อู ที่มีคุณค่า)

เอ  = เหมือนเสียง อี เปิดปากเยอะหน่อย เอาคางลงต่ำอีกนิด พองาม
โอ  = กลมอยู่แร๊วอันนี้ ง่าย ปากกว้างพองาม ให้เสียงออกมาเต็มที่ เปงใช้ได้ 


ปล. ทำเสียงกลมใน สระพวกนี้ ใช้ได้กับทุก ตัวอักษร ถึงจะเปลี่ยนจาก อา เป็น มา หรือเป็น ทา ปา พา หรือ อะไรก็แล้วแต่ และแน่นอน เอาไป ใช้ในการ ออกเสียงในเพลงด้วยนะจ๊ะ



Tip การรักษาเส้นเสียง 

ของมัน ของทอด มะได้เลย

นม ทำให้ เส้นเสียงเหนียว งดก่อนร้องเพลง อย่างน้อย ชั่วโมง หรือตลอดชีวิต

มะนาว ห้ามเด็ดขาด ล้างคอจิง แต่กรด กัด เส้นเสียงทุกวัน ผลระยะยาว ชัวร์

น้ำอุ่น ดีที่สุด

น้ำอุ่นใส่เกลือนิดหน่อย แค่พอรสชาติ ปะแหล่มๆ ไม่ต้องเค็มมาก เด๋วไตวาย เกลือ ช่วยให้ ชุ่มคอ ล้างคราบเหมือนมะนาว เสียงฟื้นตัวเร็ว โดยเฉพาะเวลานอนดึก กิน เหล้า ตื่นมาไม่มีเสียง กดน้ำอุ่น หยอดเกลือ จิบไปเรื่อยๆ เลยค่ะ ช่วยได้ คอนเฟิม

นอนน้อย เสียงจะไม่ใส่ เพราะ สเลด ประสิทธิภาพในพลังหายใจน้อยลง 3 ง่วง ไม่มีอารมร์ทำไรทั้งนั้น

เหล้า บุหรี่ อันนี้ หนักใจหน่อย เลิกได้ก็ดี เลิกไม่ได้ อย่าลืมโทรเรียก เย้ยยยย จำมะได้แย้วอ่า โพสไปตั้งยาว เหลือ แค่นี้ T__T 

Chords คอร์ด

Chords ในทาง Harmony หมายถึงกลุ่มเสียงที่ มีตั้งแต่ 3เสียงขึ้นไป 


แต่ในปัจจุบันมีคอร์ด ที่มี 2 เสียงด้วยนะ ซึ่งเป้น คอร์ดคู่ 5 (พาวเวอร์คอร์ด) อันนี้ไม่พูดถึงนะ 


คอร์ด ชนิดที่เราจะต้องเข้าใจอย่างแรกคือ Tried (ไทรแอด) เป็งคอร์ดที่มี โน้ต 3 โน้ต ยกตัวอย่างเรยละกาน 

Tried Chords จะแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ Major Chord , Minor Chord , Diminish Chord , Augmented Chord 

คอร์ด Major จะมี โน้ต ดังนี้ 1-3-5 (คิดตามบันไดเสียง Major) 

เช่น คอร์ด C Major จะมี โน้ต C-E-G ชื่อ เรียกที่นิยมคือ C , Cmaj 

คอร์ด G Major จะมี โน้ต G-B-D ชื่อ เรียกที่นิยมคือ G , Gmaj 

คอร์ด F Major จะมี โน้ต F-A-C ชื่อ เรียกที่นิยมคือ F , Fmaj 

*ถ้าเราสังเกต จะเห็นว่า โน้ต 1-3-5 นั้น ประกอบก้วย คู่ 1 P , คู่ 3 M , คู่ 5 P ซึ่งเป็นขั้นคู่ Consonant (ขั้นคู่ที่ฟังแล้วระรื่นหู)ทั้งหมดเรย ^^ * 


คอร์ด Minor จะมี โน้ต ดังนี้ 1-b3-5 (คิดตามบันไดเสียง Major) 

เช่น คอร์ด C Minor จะมี โน้ต C-Eb-G ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Cm , Cmin 

คอร์ด G Minor จะมี โน้ต G-Bb-D ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Gm, Gmin 

คอร์ด F Minor จะมี โน้ต F-Ab-C ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Fm , Fmin 


*ถ้าเราสังเกต จะเห็นว่า โน้ต 1-b3-5 นั้น ประกอบก้วย คู่ 1 P , คู่ 3 m , คู่ 5 P ซึ่งเป็นขั้นคู่ Consonant (ขั้นคู่ที่ฟังแล้วระรื่นหู)ทั้งหมดเช่นกัน เพียงแต่ เปลี่ยน คู่ 3 เป็น ขุ้นคู่ไมเนอร์* 


คอร์ด Diminish จะมี โน้ต ดังนี้ 1-b3-b5 (คิดตามบันไดเสียง Major) 

เช่น คอร์ด C Diminish จะมี โน้ต C-Eb-Gb ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Cdim 

คอร์ด G Diminishจะมี โน้ต G-Bb-Db ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Gdim 

คอร์ด F Diminish จะมี โน้ต F-Ab-B ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Fdim 


*ถ้าเราสังเกต จะเห็นว่า โน้ต 1-b3-b5 นั้น ประกอบก้วย คู่ 1 P , คู่ 3 m , คู่ 5 dim ซึ่งมี คู่ 5 เป็ง ขั้นคู่ Diminish จึงทำให้เสียงของคอร์ดนี้ ฟังดูทึมๆ ลึกลับ* 

คอร์ด Augmented จะมี โน้ต ดังนี้ 1-3-#5 (คิดตามบันไดเสียง Major) 

เช่น คอร์ด C Augmented จะมี โน้ต C-E-G# ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Caug , C+ 

คอร์ด G Augmentedจะมี โน้ต G-B-D# ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Gaug , G+ 

คอร์ด F Augmented จะมี โน้ต F-A-C# ชื่อ เรียกที่นิยมคือ Faug , F+ 

*ถ้าเราสังเกต จะเห็นว่า โน้ต 1-3-#5 นั้น ประกอบก้วย คู่ 1 P , คู่ 3 M , คู่ 5 Aug ซึ่งมี คู่ 5 เป็ง ขั้นคู่ Augmented จึงทำให้เสียงของคอร์ดนี้ ฟังดูแปลกๆ ขัดๆแข็งๆ* 

คราวหน้าจะมาพูดถึง คอร์ด ที่มี มากกว่า 3 โน้ต เช่น C7 , Emaj9 , F#m7 เป็นต้นนะ 











เอาพื้นฐานHarmony มาฝากชาวดนตรีทุกคน


บันไดเสียง Major = 1 2 3^4 5 6 7^1 ^ =Semitone(1/2เสียงเด้อ)
เช่น C Major = C D E F G A B C ไม่มี#และb
G Major = G A B C D E F# G มี 1# คือ F#
สูตรในการท่องโน้ตตัวติด# คือ F C G D A E B เอฟ ซี จี ดา แอ๊บ

ทีนี้ เรามาท่อง ชื่อของโน้ต แต่ละลำดับกานนะจ๊ะ ชาวดนตรี

โน้ตตัวที่ 1 ของบันไดเสียงเรียกว่า Tonic จ้า เช่น สเกล C Major Tonic คือ โน้ต C

เช่น สเกล G Major Tonic คือ โน้ต G
โน้ตตัวที่ 2 ของบันไดเสียงเรียกว่า SuperTonic จ้า เช่น สเกล C Major Tonic คือ โน้ต D

เช่น สเกล G Major Tonic คือ โน้ต A

โน้ตตัวที่ 3 ของบันไดเสียงเรียกว่า Mediant จ้า เช่น สเกล C Mediant คือ โน้ต E

เช่น สเกล G Mediant คือ โน้ต B

โน้ตตัวที่ 4 ของบันไดเสียงเรียกว่า Sub Dominant เช่น สเกล C Sub Dominantคือโน้ต F

เช่น สเกล G Sub Dominant คือ โน้ต C

โน้ตตัวที่ 5 ของบันไดเสียงเรียกว่า Dominant เช่น สเกล C Dominant คือโน้ต G
เช่น สเกล G Dominant คือ โน้ต D
*สังเกตุนะ คอร์ด G7 ชื่อเต็มๆว่า คอร์ดจีดอมิแนทเซเว่น (G Dominant7 Chord) ก็คือคอร์ด7 ที่ ลำดับที่5 ของสเกล C Major ไงละตะเอง ฮี่ๆๆๆๆๆ*

โน้ตตัวที่ 6 ของบันไดเสียงเรียกว่า Sub Mediant จ้า เช่น สเกล C Sub Mediant คือ โน้ต A

เช่น สเกล G Sub Mediant คือ โน้ต E

โน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงเรียกว่า Leading Noteจ้า เช่น สเกล C Leading Noteคือ โน้ต B

เช่น สเกล G Leading Noteคือ โน้ต F#

ใครมีอารัยสงสัยโพสบอกนะจ๊ะ วันนี้เอาแค่นี้ก่องนะ

สรุปความรู้วันนี้
1 บันไดเสียง Major
2 ชื่อเรียกของ ลำดับโน้ตในสเกล (ใช้ได้ทั้งMajor และ Minor นะจ๊ะพี่น้อง




วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศัพท์แสดง Expression




ศัพท์แสดง Expression ภาษา เศษฝรั่ง ลองดูเอานะคะ


affectueux    เป็นที่เสน่ห์หา

agite'      เร่าร้อนใจ,ปั่นป่วน 

aimable      นุ่มนวลใจ,ละมุนละไม (แบบนี้ชอบๆๆ)

anime'      อย่างกระตือรือร้น,อย่างมีชีวิตชีวา 

caressant      อย่างประเล้าประโลม

expressif     เต็มไปด้วยความหมาย,อย่างลึกซึ้ง 

ardent      ด้วยความรุนแรงดุจไฟ

gracieux      อย่างนุ่มนวลอ่อนช้อย 

triste      อย่างเศร้าโศก

tenu      ซึ่งยึดและเหนี่ยวนรั้ง 

passionne'      อย่างเร่าร้อน

le'ger      อย่างเบาๆ 

majestueux      อย่างสง่าผ่าเผย

martiale      อย่างฮึกเหิม 

triste      อย่างเศร้าสร้อย

myste'riux      อย่างลึกลับ 

mouvemente'      อย่างมีชีวิตจิตใจ

scherzend      อย่างตลก 

resolu      อย่างมั่นใจ

simple      อย่างเรียบๆ 

chantant      เชิงการขับร้อง

plaisant      อย่างสบายๆ 

avec verve ด้วยความร่าเริงกระฉับกระเฉง

soutenu      อย่างต่อเนื่อง 

doucement,doux      อ่อนหวาน

tendre      อย่างนุ่มนวล 

avec force      ด้วยความกระปรี้กระเปล่า



อ้างอิงจาก หนังสือ สังคีตนิยมว่าด้วย:ดนตรี